เมื่อพูดถึงโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ หลายคนคงนึกถึงผงฝุ่นลอยคละคลุ้งท่ามกลางเปลวแดดแผดร้อน แต่ทันทีที่รถของเราเลี้ยวเข้าประตูของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด สิ่งที่เราได้พบกลับเป็นต้นไม้น้อยใหญ่ที่ขึ้นเรียงรายหนาแน่นตลอดสองข้างทาง สำหรับคนทั่วไป โรงงานอุตสาหกรรมคือเหรียญคนละด้านกับการฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับ ‘ปูนลำปาง’ โรงงานในประเทศแห่งที่ 5 ของเอสซีจี เรื่องราวดูจะกลับตาลปัตรพลิกผัน “ตอนที่เราตั้งโรงงาน…
Category News: Sustainability & ESG
‘ศูนย์ความรู้ผู้สูงวัย’ กับความสะดวกและความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุไปสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์’ จากสถิติของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่าภายในปี 2564 จะมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า 9 ล้านคน ซึ่งกลายเป็นโจทย์สำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า เราจะออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บหรือโรคแทรกซ้อนจากการหกล้มของผู้สูงอายุได้อย่างไร ‘หกล้ม’ หนึ่งในปัจจัยการเสียชีวิตของผู้สูงวัย นอกจากตัวเลขอายุที่เพิ่มมากขึ้น การก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุยังมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการหกล้มซึ่งนำไปสู่อาการเจ็บป่วยอื่นๆ โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของผู้สูงอายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการหกล้ม ไม่ว่าจะเป็นการเสื่อมของสายตา การเคลื่อนไหวที่ทำได้ไม่สะดวกแคล่วคล่องเหมือนกับวัยหนุ่มสาว อีกทั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ผู้สูงอายุก็มักจะฟื้นฟูร่างกายได้ช้า ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะจากข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าการหกล้มในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเสียชีวิต โดยในปี 2560 มีผู้สูงอายุหกล้มประมาณ 4 ล้านราย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณบ้านของตนเอง เช่น ในห้องนอนหรือห้องน้ำ และทำให้มีอาการอื่นตามมา เช่น การฟกช้ำ แผลถลอก กระดูกหัก หรือมีผลต่อโรคประจำตัวที่อาจทวีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ให้ Big Data ช่วยวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่ออุบัติเหตุหกล้มไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย จึงนำมาสู่ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและ SCG Eldercare Solution ในการพัฒนางานวิจัยจาก Big Data ที่เกิดจากการติดตั้งเซนเซอร์เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้สูงอายุในที่อยู่อาศัย ก่อนจะนำมาวิเคราะห์และต่อยอดเป็นการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ ในที่อยู่อาศัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุที่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน ตัวอย่างเช่น การออกแบบเตียงที่ปรับระดับสูง–ต่ำได้ การพัฒนาลูกบิดประตูที่ใช้แรงบิดน้อย หรือการพัฒนาวัสดุปูพื้นที่ป้องกันการลื่น นุ่มสบายไม่เย็นเท้า และลดแรงกระแทกได้ด้วย นอกจากนั้น ทั้งสององค์กรยังต่อยอดผลการวิจัยเป็นความร่วมมือในการจัดตั้ง ‘ศูนย์ความรู้ผู้สูงวัย’ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติก่อนออกจากโรงพยาบาล รวมไปถึงการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างทางร่างกายของแต่ละบุคคล เพื่อการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละราย สูงวัย รู้ทัน ป้องกันได้ การทำงานร่วมกันระหว่างศาสตร์ทางการแพทย์ พฤติกรรมศาสตร์สรีรศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและเอสซีจี แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการผสานความร่วมมือแบบข้ามศาสตร์ (multi-disciplinary…
เอสซีจี โชว์ศักยภาพ R&D ตอบโจทย์ตลาดโลก
ระยอง (8 มีนาคม 2561): กลุ่มธุรกิจเคมิคอลส์ ในเอสซีจี ทุ่มงบกว่า 3,600 ล้านบาท ผลักดันงานวิจัยสู่ตลาดโลก เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ รวมถึงโซลูชั่นใหม่ ๆ ล่าสุด จัดทัพนวัตกรรมพลาสติก…
จากภูผาสู่มหานที แม้แต่ละพื้นที่ต้องการความ ‘รักษ์’ ไม่เหมือนกัน แต่ล้วนเชื่อมโยงกันจากต้นจรดปลายน้ำ [Advertorial]
ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่ -เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ ชีวิตมนุษย์พึ่งพาธรรมชาติ มนุษย์ต้องดูแลรักษาธรรมชาติ -เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ แต่ที่หลายคนอาจยังไม่รู้คือถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าธรรมชาติเหมือนกัน แต่ภูมิประเทศแต่ละพื้นที่นั้นต้องพึ่งพาวิธีการ ‘รักษ์’ และฟื้นฟูที่ไม่เหมือนกัน แรกเริ่มจากภูผา เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง การ ‘รักษ์’…
เรื่องเล่าจากบ้านสาแพะ ปลุกความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
เช้ามืดของวันหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ในแปลงเกษตรขนาดใหญ่ แสงไฟวับแวมที่มองเห็นเป็นจุดๆ ในระยะไกล คือแสงจากไฟฉายที่คาดไว้กับศีรษะของพี่ป้าน้าอาซึ่งกำลังผสมเกสรของต้นมะระ เรามีนัดกับเกษตรกรที่บ้านสาแพะ หมู่บ้านขนาด 153 หลังคาเรือนในตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง สำหรับชาวบ้านที่บ้านสาแพะ การเกษตรคืออาชีพหลักของคนที่นี่ ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นได้หลังจากมีการบริหารจัดการน้ำที่ชุมชนแห่งนี้ เราเข้าร่วมกิจกรรมผสมพันธุ์พืชและพูดคุยกับชุมชน …
สายน้ำส่งต่อความรักษ์
ในอดีต พวกเราเติบโตมากับน้ำ เราพึ่งพาแม่น้ำลำคลองในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราใช้น้ำทำเกษตรกรรม เป็นช่องทางสัญจร และผืนทะเลที่กว้างใหญ่ก็เป็นแหล่งประกอบอาชีพของใครหลายคน แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตเปลี่ยนไป เราหันมาสัญจรบนถนน คนเมืองมีน้ำประปาใช้ตลอดทั้งปี จนเราลืมไปว่าน้ำเป็นทรัพยากรล้ำค่าที่ต้องบริหารจัดการด้วยความรู้ความเข้าใจ ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพราะเราเห็นว่าน้ำเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเชื่อว่าการบริหารจัดการน้ำต้องเป็นไปอย่างยั่งยืนตลอดเส้นทางจากต้นถึงปลาย โครงการ ‘รักษ์น้ำ…จากภูผา สู่มหานที’ ของเอสซีจี…
เอสซีจี รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที สร้างสมดุลตลอดห่วงโซ่
เอสซีจีสานต่อ 10 ปี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต ขยายผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการน้ำ จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ทำให้ธรรมชาติฟื้นคืน สู่การสร้างอาชีพ ชุมชนเข้มแข็ง เกิดเป็นห่วงโซ่ยั่งยืนตลอดเส้นทางน้ำ สร้างต้นน้ำที่ดี สู่ปลายทางน้ำที่ดี สร้างสมดุลอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้นให้ประเทศไทย น้อมนำศาสตร์พระราชา จากภูผา…
เอสซีจี โลจิสติกส์ ผลักดันโครงการ “Smile Kid School Bus รถโรงเรียนอัจฉริยะเพื่อความปลอดภัย” แก้ปัญหาเด็กติดรถ
กรุงเทพฯ : เอสซีจี โลจิสติกส์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงนามความร่วมมือใน โครงการ “Smile Kid School Bus รถโรงเรียนอัจฉริยะเพื่อความปลอดภัย” ด้วยการใช้ระบบ AI…
ทำไมต้องรักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที
เพราะเป็นแนวทางการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่โดยเริ่มต้นจากพื้นที่ต้นน้ำ สู่พื้นที่กลางน้ำ และจบที่พื้นที่ปลายน้ำ