ศิลปะหมุนเวียนทรัพยากรได้ ไม่ให้เกิดขยะ SD Symposium 10 Years

6 กันยายน 2562… ในงานอีเวนท์แต่ละงาน สิ่งที่เราเห็นเหมือนกันคือ Backdrop ของงาน เมื่อจัดงานเสร็จแล้วก็รื้อและนำไปทิ้งนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่งาน SD Symposium 10 Years ‘Circular Economy: Collaboration for Action’ ของเอสซีจี ได้เปลี่ยนจากความเคยชินเข้าสู่ Circular Economy ด้วยแนวคิดว่าศิลปะสามารถเกิดจากการ Reuse และ Recycle ได้

ความเคยชินตั้งแต่ Backdrop ยังเป็นชิ้นงานโฟมในอดีต เปลี่ยนมาเป็นกระดาษหรือวัสดุอื่นซึ่งเป็นการสร้างขยะจำนวนมาก ต่อเมื่อมีงานอีเวนท์ใหม่ขึ้นมา ก็ทำ Backdrop ใหม่อีกครั้งแล้วลงสู่ถังขยะในตอนท้ายเช่นเดิม

ทำอย่างไรจะ “ลดขยะ” ในการจัดงานอีเวนท์ได้บ้าง? นั่นคือสิ่งที่สอดคล้องกับงาน SD Symposium 10 Years ‘Circular Economy: Collaboration for Action’ ซึ่งมีแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เป็นแกนหลัก

คำถามข้างต้นก็เกิดขึ้นกับ วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ หรือเอ๋ ศิลปินที่ทำงานศิลปะจากของเหลือใช้ เมื่อนึกถึง Backdrop ในงานอีเวนท์

สิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้นมาจากรูปแบบการใช้ชีวิต และการบริโภคแบบเส้นตรง (Linear Economy) หรือ นำมา-ผลิต-ทิ้งไป (Take-Make-Dispose) ก่อให้เกิดมลภาวะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จนทำให้เกิดความกังวลว่าทรัพยากรจะหมดไป

ส่วนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นแนวทางที่เปลี่ยนกระบวนการของการผลิต การบริโภค และการใช้ชีวิต เพราะผู้ผลิตจะต้องมีความคิดสร้างสรรรค์ มีนวัตกรรม ออกแบบวัสดุ ผลิตภัณฑ์ ระบบ และโมเดลทางธุรกิจใหม่ ให้เป็นมิตรกับธรรมชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุดและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการของเสีย ให้ถูกนำกลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสมในรูปแบบ ผลิต-ใช้-วนกลับ (Make-Use-Return)

“เรามองไปถึงการใช้ของที่มีอยู่แล้วดีไหม ในการนำมาทำเพื่อเป็นชิ้นงาน จึงมีไอเดียว่า เราจะเอาขยะมาทำเป็น Backdrop คือ Key Visual ของงาน”

วิชชุลดา ขยายความถึงขั้นตอนการทำงานว่า จะเริ่มจากไปดูโรงเก็บขยะจากชุมชนรอบโรงงานของเอสซีจี และภายในเอสซีจี สำนักงานใหญ่ (บางซื่อ) ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยเป็นขยะสะอาด ซึ่งมีทั้งลังกระดาษ พลาสติก กระป๋องน้ำอัดลมที่ดื่มแล้ว ฯลฯ โดยวัสดุที่เลือกเป็นหลัก ประกอบด้วย

  1. กระป๋องน้ำอัดลม รวมประมาณ 70%
  2. แกนกระดาษทิชชูในห้องน้ำ ประมาณ 20%
  3. ขวดพลาสติก PET
  4. หลอดพลาสติก
  5. ฝาขวดพลาสติก
  6. แก้วพลาสติก
  7. แห, อวนพลาสติก

เมื่อเลือกวัสดุที่สะอาดมาระดับหนึ่ง ถึงเวลาหน้างานก็ต้องแยกขยะ นำไปทำความสะอาดอีกครั้ง โดยกระป๋องน้ำอัดลมนั้นทำความสะอาดยากที่สุด ความสนุกเกิดขึ้นในการจัดการอย่างระมัดระวัง เมื่อเห็นลูกหนูเล็กๆ ตัวเป็นๆ 6 ตัวในกระป๋องน้ำอัดลม แต่ไม่มีแม่หนู!

“สไตล์การทำงานของเอ๋จะเลือกวัสดุก่อน เพราะในแง่งานศิลปะ สวยดี อย่างตัวกระป๋องเราชอบ Texture ของมัน เวลาบุบลงไปจะสะท้อนแสงได้ดี เหมือนกับสีเงิน ๆ เวลาถูกแสง จะวิบ ๆ วับ ๆ เอ๋มองว่าตรงนี้น่านำมาเป็นลูกเล่นอะไรบางอย่างได้ หากใช้วัสดุอื่น ๆ อาจจะไม่วิบวับเท่า ส่วนขวดพลาสติก PET มีความลึก ความหนาของขวดเวลาเขาขึ้นรูปขึ้นมา เอ๋ว่ามันเป็นเสน่ห์ เวลาถูกแสงไฟจะสะท้อนออกมาเป็นแสงหักเห มีความสวยงาม เมื่อถึงเวลาลงมือทำงานก็เป็นการ Improvised หน้างาน”

วิชชุลดาเล่าต่อเนื่องถึงกระบวนการทำงาน Backdrop ซึ่งเป็น Key Visual ของงาน เป็นภาพลักษณ์ของงาน ดังนั้นจะต้องให้คนเห็นแล้วปัง!

อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ SD Perspectives

(Visited 908 times, 1 visits today)