โลกที่คุณอยู่ในวันนี้ จะเป็นโลกที่เราอยู่ในวันข้างหน้า ทุกภาคส่วนผนึกกำลัง เพื่อคุณภาพชีวิตและอนาคตลูกหลาน

SD Symposium 10 Years ‘Circular Economy: Collaboration for Action’ เสียงข้อเรียกร้อง Save Our World !! จากตัวแทนเยาวชนทั้งอาเซียน ซึ่งเป็นนักเรียนทุนเอสซีจี ยังกึกก้องต่อผู้ฟังชาวไทยและนานาชาติ และจากเวทีนี้ได้เกิด 4 มาตรการเร่งแก้วิกฤตขยะไทย พร้อมให้ Circular Economy เป็นนโยบายรัฐ และเป็นหน้าที่ทุกคน

“เราต้องการคุณ และทุกคนที่นี่ให้มามีส่วนร่วม เริ่มจาก รัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม สื่อมวลชน และภาคประชาสังคมร่วมแก้ปัญหานี้ด้วยกัน เพราะนี่คือโลกของเรา โอกาสเดียว โอกาสของเรา รักษาโลกของเรา”

จากเยาวชนอินโดนีเซีย มาถึงเยาวชนสปป.ลาว ที่เกริ่นนำถึงความเหือดแห้งของแม่น้ำโขงก่อนเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานั้น ว่ามีสาเหตุหลักมาจากการตัดไม้ทำลายป่า

“ถ้าคุณยังทำเหมือนเดิมอยู่ ในอนาคตอันใกล้ ลูกชาย ลูกสาวของคุณอาจจะต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติมากมาย เช่นน้ำท่วม น้ำแล้ง ซึ่งอาจจะทำให้พวกเขาต้องสูญเสียที่อยู่อาศัย หรือสูญเสียแม้กระทั่งชีวิต ฉะนั้น ถ้าคุณรักลูกหลานคุณ ได้โปรดเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ด้วย เพราะอนาคตของพวกเราอยู่ในมือคุณ”

“วันนี้จะพูดถึงมาเรียม ลูกพะยูนตัวน้อยของไทยที่เพิ่งตายไปเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งพบเศษถุงพลาสติกในกระเพาะของเธอ เราจะไม่ยอมให้ใครต้องตายแบบนี้อีกแล้ว เราจะช่วยเขาได้โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา เช่น ไม่ทิ้งขยะลงในทะเล ในเวลาเดียวกัน เราก็ได้ช่วยรักษาโลกใบนี้ไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไปด้วย”

คุณ คุณ โปรดช่วยกันรักษาชีวิต รักษาโลกของเรา Save Our World !!

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี หวังว่า การที่เราสูญเสียยามีล และมาเรียม จะเป็นจุดสิ้นสุด ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมา

“ปีนี้ครบรอบปีที่ 10 ที่เอสซีจีจัดเวที SD Symposium โดยจากสถิติพบว่า วันนี้คนไทยสร้างขยะ 1.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจว่าหากทุกอย่างยังดำเนินต่อไป โลกของเราจะมีขยะเป็นพันล้านตัน เมืองต่างๆ จะเต็มไปด้วยขยะ นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมยังจะเป็นพิษอย่างมาก”

ขณะเดียวกันปัญหาของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จะยิ่งทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากร จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวันหนึ่งเราอาจไม่มีน้ำ ไม่มีอาหารที่เพียงพอ เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่อยากให้เกิด เราจึงต้องมาพูดกันถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องการมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของการบริโภค โดยแม้ว่าการสร้างความร่วมมือกันจะเป็นเรื่องจำเป็นในการทำงาน แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องเริ่มจากตัวเองก่อน

“ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่เราเริ่มต้นพูดคุยเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน และตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เราได้สร้างความร่วมมือกับกว่า 40 องค์กร เช่น การทำถนนพลาสติกรีไซเคิล มีการเปลี่ยนแปลงในวงการก่อสร้าง เริ่มจากการนำวัสดุกลับมาใช้จนถึงการกำจัดของเสีย นอกจากนี้ องค์กรในธุรกิจค้าปลีกยังมาร่วมกัน ตั้งแต่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือการเก็บขยะกลับมาสร้างคุณค่า และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การประกาศตัวว่าเป็นชุมชนปลอดขยะทั้งในราชบุรี หรือระยอง”

อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ SD Perspectives

(Visited 449 times, 1 visits today)