หมอไทยแกร่ง ร่วมใจสู้ศึกโควิด ด้วยนวัตกรรมห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ ลดติดเชื้อในห้องฉุกเฉิน

จำนวนผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ทำให้แพทย์ต้องเตรียมรับมืออย่างรัดกุม โดยเฉพาะผู้ป่วยหนักที่ต้องรักษาตัวใน ห้องไอซียู ซึ่งจำเป็นต้องมีห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบอยู่ในห้อง เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ และหากสามารถเคลื่อนย้ายไปติดตั้งในห้องไอซียูได้เลย หรือสร้างเป็นห้องแยกออกมาจากไอซียูที่มีคนไข้เต็มแล้วได้ ก็จะยิ่งตอบโจทย์การทำงานของแพทย์

ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Room) ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ระหว่างปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน ห้องไอซียู หรือห้องพักผู้ป่วยทั่วไป

  • เป็นอุปกรณ์เสริมพิเศษ เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่น ๆ
  • ทำงานด้วยระบบความดันลบ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อสู่ภายนอก โดยอากาศที่ไหลออกจากห้องจะถูกดูดออกผ่านเครื่องกรองเชื้อโรค ระดับ HEPA สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็ก เช่น PM2.5 PM1 รวมถึงแบคทีเรียและไวรัส
  • ผลิตจากโครงโลหะที่มีความแข็งแรง ครอบด้วยผ้าใบ และพลาสติก PVC แบบใส ติดตั้ง-รื้อถอนได้ง่าย ใช้เวลาเพียง 30 นาที สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามพี้นที่
  • เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารและวางบนพื้นเรียบเท่านั้น
ผ่านการทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบ ประกอบด้วยโครงสร้างห้อง ระบบแรงดันอากาศลบ และเครื่องกรองเชื้อโรค ไม่รวมเตียงคนไข้ และเครื่องมือแพทย์

  • ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบ ทำจากผ้าใบ และพลาสติก PVC แบบใส ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนชั้นนอกและชั้นในห้องผู้ป่วย ออกแบบเป็นประตู 2 ชั้น (Double Door) และเป็นซิปรูด 2 ทาง เพื่อความสะดวกในการเข้าออกของเจ้าหน้าที่
    • ชั้นนอก เพื่อควบคุมความดันของห้องชั้นในให้คงที่ ป้องกันการเล็ดลอดของเชื้อโรคในขณะเดินเข้า-ออก เจ้าหน้าที่สามารถใช้พื้นที่ส่วนนี้ในการเปลี่ยนชุดได้ทันทีเพื่อความปลอดภัย และสามารถเป็นส่วนสำหรับทิ้งขยะติดเชื้อได้ด้วย
    • ชั้นใน สำหรับรักษาผู้ป่วย มีขนาดพื้นที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ โดยออกแบบช่องสำหรับสอดเครื่องมือเพื่อช่วยเรื่องระบบหายใจ มีตะขอตัวเกี่ยวอเนกประสงค์ต่าง ๆ สำหรับแขวนอุปกรณ์ที่จำเป็น รวมทั้งมีช่องต่าง ๆ ให้ตรงกับตำแหน่งของอุปกรณ์ สายไฟ และเครื่องช่วยชีวิตที่อยู่ด้านนอก นอกจากนี้ยังออกแบบให้มีช่องสำหรับมือสอดเพื่อทำหัตถการจากด้านนอกด้วย
ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบ ชั้นนอก
ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบ ชั้นใน

*ทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในห้องตรวจด้วยวิธีการฆ่าเชื้อของโรงพยาบาล ควรหลีกเลี่ยงการฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV เพื่อให้อายุการใช้งานยาวนาน

ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Room)
(Visited 2,201 times, 1 visits today)