ทำไมเอสซีจีถึงได้เลือกธุรกิจแพคเกจจิ้ง เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

จากธุรกิจที่น่า “เป็นห่วง” ที่สุดของ “เอสซีจี”  กลายเป็น “ธุรกิจดาวรุ่ง พุ่งแรง” ที่สุดในวันนี้ Case study ที่น่าสนใจของการเปลี่ยนแปลงตัวเองและไม่ยอมหยุดนิ่งอยู่กับที่ขององค์กรใหญ่กว่า 100 ปี

ปัจจุบันเอสซีจีมีธุรกิจหลักที่ทำรายได้รวมในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 5 แสนล้านบาท กำไร 4.4 หมื่นล้านบาท จาก 3 กลุ่มธุรกิจหลักคือ

  1. ธุรกิจเคมิคอลส์
  2. ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง
  3. ธุรกิจแพคเกจจิ้ง

ธุรกิจที่ทำรายได้สูงที่สุดในรอบ 9 เดือนปี 2562 คือเคมิคอลส์ รายได้  136,283 ล้านบาท กำไร 13,295 ล้านบาท รองลงมาคือซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง รายได้ 139,555 ล้านบาท มีกำไร  4,801 ล้านบาท ส่วนแพคเกจจิ้งมีรายได้ 65,974 ล้านบาท กำไร  4,245 ล้านบาท

ทั้งรายได้และกำไรของแพคเกจจิ้งถึงจะมียังมีสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มธุรกิจอื่นๆ (รายได้เพียง 21% กำไร 17% เมื่อเทียบกับทั้งกลุ่ม) แต่เป็นรายได้และกำไรที่แต่ละปีมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดกว่ากลุ่มอื่นๆ

เหตุผลสำคัญในการส่ง เอสซีจี แพคเกจจิ้ง เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นเพราะ

  1. จากการเติบโตของธุรกิจ E-commerce ในยุคดิจิทัลนี้ทำให้บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตที่สูงและมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อย่างมากและต่อเนื่องในอนาคต
  2. ในปี 2561 ตลาดแพคเกจจิ้งในอาเซียนมีมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านดอลลาร์
  3. วันนี้ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง คือบริษัทผู้นำตลาดทางด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในภูมิภาคอาเซียนอยู่แล้ว
  4. เป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งเพื่อให้เอสซีจี แพคเกจจิ้ง มีความได้เปรียบคู่แข่งในเรื่องของการเงิน

จากเหตุผลดังกล่าวกลายเป็นที่มาของการประกาศว่า เอสซีจี เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ของบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP”) และนำ SCGP เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อระดมทุนเสริมศักยภาพธุรกิจดาวรุ่ง รับโอกาสตลาดเติบโต โดยที่เอสซีจีจะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีอำนาจควบคุม SCGP ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และ SCGP จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของเอสซีจีเช่นเดิม

รายได้-กำไร ธุรกิจแพคเกจจิ้ง

ติดตามอ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ MARKETEER

 

(Visited 9,554 times, 1 visits today)