SCGC กับภารกิจพิชิต “โลกรวนหนักจนใจรับไม่ไหว”

ตลอดระยะเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตั้งแต่ในระดับชุมชน ไปจนถึงเครือข่ายองค์กรนานาชาติ ต่างพุ่งเป้าไปกับการบริหารจัดการวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก (Climate Change) ซึ่งหนึ่งในผลกระทบสำคัญที่เรารับรู้มาอย่างต่อเนื่อง จากสื่อต่าง ๆ ก็คือ “ภาวะโลกร้อน (Global Warming)”

แม้ว่าความพยายามจากทั่วทั้งโลกที่ต้องการชะลอ และหยุดวิกฤตทางธรรมชาติครั้งใหญ่นี้ ให้จบลงโดยเร็ว หมุดหมายสำคัญเช่น การประชุม COP27 ของนานาประเทศที่เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ เพื่อวางแผนการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศโลก และหารือข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชย “ความสูญเสียและเสียหาย” (Loss and Damage) ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น การปิดโรงงานถ่านหินทั้งหมดของฝรั่งเศสภายในปี 2022 หรือเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กตั้งเป้าเป็นเมืองปลอดคาร์บอนฯ แห่งแรกของโลกภายในปี 2025 และบางส่วนได้รับการขับเคลื่อนไปแล้ว แต่ความตั้งใจส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องรอ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ขณะที่ทุกภาคส่วนกำลังเร่งสปีดเพื่อหาทางออกให้กับเรื่องดังกล่าว SCGC จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ “Climate Anxiety” อีกหนึ่งผลสืบเนื่องที่เห็นได้ชัดจากวิกฤตภาวะโลกรวนที่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ และในบทความนี้ SCGC จะได้เสนอแนะวิธีแก้ไขให้ใจของเรากลับมาแข็งแรงสดใสพร้อมรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างเข้มแข็ง

Climate Anxiety อาการป่วยใจที่มาพร้อมกับวันที่โลกป่วยแรง

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ หรือที่สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association: APA) ให้คำนิยามว่า Climate Anxiety หรือ Eco-anxiety เป็นความรู้สึกกลัว ความวิตกกังวล และความเครียดที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบนโลก อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นความรู้สึกสิ้นหวังหรือหมดหนทางในการใช้ชีวิต โดยปัญหาดังกล่าวกำลังส่งผลเสีย กับคนในสังคมเป็นวงกว้าง และยังนำมาซึ่งผลกระทบต่าง ๆ นั่นคือ การขาดอาหาร ความยากจน การพังทลายของระบบนิเวศ การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต หรือแม้แต่การอพยพลี้ภัยย้ายถิ่นฐานระลอกใหญ่ ของสังคมสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก (The Great Climate Migration)

ความรู้สึกไม่มั่นคงในจิตใจดังกล่าว กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผลสำรวจจากมหาวิทยาลัย George Masonพบว่าคนทั่วไป ในสหรัฐอเมริกากว่าร้อยละ 70 กังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่อีก 51% รู้สึกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นอยู่ในระดับที่ “เกินเยียวยา” อีกผลสำรวจที่ช่วยสนับสนุนข้อเท็จจริงดังกล่าวมาจาก University of Bath ในสหราชอาณาจักร ซึ่งสำรวจจกลุ่มประชากรที่เป็นวัยรุ่นอายุ 16-25 ทั้งหมด 10,000 จาก 10 ประเทศ ผลปรากฏว่าร้อยละ 75 ของผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวมเห็นด้วยกับข้อความที่ว่า “อนาคตเป็นสิ่งที่น่าหวาดหวั่น” และสัดส่วนนี้สูงถึง 81% ในโปรตุเกส และ 92% ในฟิลิปปินส์

นอกจากนี้สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association: APA) ที่ถือเป็นสมาคมนักจิตวิทยาที่ใหญ่ที่สุด ของสหรัฐอเมริกา และเป็นต้นแบบในการวิจัยหรือการกำหนดหลักจริยธรรมของนักจิตวิทยาทั่วโลก ยังยืนยันว่า คนในเจเนเรชั่นวาย (Y) หรือมิลเลนเนียล ที่เกิดระหว่าง ค.ศ. 1981-1996 ซึ่งเป็นวัยแรงงานที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ณ ปัจจุบัน และเจเนเรชั่นซี (Z) ที่เกิดระหว่าง ค.ศ. 1997-2010 ก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกและวิตกกังวลกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และเผชิญกับ Climate Anxiety มากกว่าคนรุ่นก่อนหน้า

สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมในปี 2022 ซึ่งเป็นงานศึกษาร่วมกันของบริษัท Marketbuzz กับวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า คนไทยมองปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่สำคัญมากถึงร้อยละ 37 ซึ่งถือว่าเป็นอันดับสอง รองจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น (44%) มากไปกว่านั้นมีคนไทย 62 คน จากทั้งหมด 100 คนยอมรับว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบ ต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี

บทบาทและหน้า SCGC ที่ฟื้นวิกฤต “โลกร้อน-ใจรวน”

บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ผู้นำด้านนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาค ได้มุ่งมั่นคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ต่อยอดการเติบโตให้กับธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็สร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง

ความท้าทายจาก Climate Change ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และกำลังยกระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องสำคัญที่ SCGC กำลังร่วมหาทางออก โดย SCGC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามปณิธานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ผ่านการกำหนดกลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินงานเป็นองค์กรต้นแบบด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ภายในปี 2030 และสนับสนุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ทั้งนี้ SCGC เลือกใช้เทคโนโลยีการผลิต และเครื่องจักรที่ทันสมัย ใช้ระบบดิจิทัลควบคุมกระบวนการผลิตให้ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน
นอกเหนือจากความมุ่งมั่นและคำสัญญาที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจ ไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนแล้ว SCGC ยังมีนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจรที่ช่วยแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศของโลกและสร้างความมั่นใจให้กับภาคประชาสังคม ได้ในเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไฮไลต์ที่น่าสนคือ SCGC GREEN POLYMER™  เราได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ซึ่งส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ Reduce การลดการใช้ทรัพยากร, Recyclable การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้, Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่และ Renewable การพัฒนาพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน พอลิเมอร์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ผลิตขึ้น ด้วยเทคโนโลยี SMXTM นวัตกรรมการผลิตพลาสติกที่แข็งแรงกว่า และช่วยลดโลกร้อน

SCGC ยังจับมือกับพันธมิตรคิดค้นพัฒนาเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับรถยนต์โดยเฉพาะ แต่ละชนิดมีคุณสมบัติเด่นทั้งในด้านความคงทน แข็งแรง และมีน้ำหนักที่เบาลง ทำให้ลดพลังงานในการขับขี่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไฮไลต์เกรดพลาสติกจาก SCGC ที่ตอบโจทย์ยานยนต์แห่งอนาคตที่เป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์มีอยู่ 2 เกรด คือ SCGC™ PP P765J และ SCGC™ PP P1085J

SCGC ให้ความสำคัญกับดูแลชุมชนรอบโรงงานและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างวิถีการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ร่วมแลกเปลี่ยนและแก้ไขทุกปัญหาอย่างจริงจัง โดยจัดทำโครงการพัฒนาสังคมในรูปแบบต่างๆ เช่น One Manager One Community (OMOC) ที่ให้ผู้จัดการทุกคนมีบทบาทในการดูแลชุมชนรอบโรงงาน ชุมชน Like (ไร้) ขยะ ที่บริหารจัดการขยะแบบบูรณาการผ่านโมเดล บ้าน วัด โรงเรียน เชื่อมโยงกับธนาคารขยะเพื่อเพิ่มปริมาณการรีไซเคิล การสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนสร้างรายได้จากการขายสินค้า รวมถึงส่งเสริมการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน ราชการ คู่ธุรกิจ หน่วยงานภายนอก และองค์กรต่าง ๆ

เทคนิคเยียวยาใจในวันที่โลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างรุนแรง

ในอนาคตอันใกล้เรายังคงต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ที่มีแนวโน้มจะสร้างความตระหนกตกใจ ให้กับเราอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะจากอนุภาคฝุ่นละอองในเมืองและปริมณฑล ความผันผวนปรวนแปรของฤดูกาล ชายฝั่ง การเสื่อมสลายของแนวปะการัง และพื้นที่ชายฝั่ง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราควรสร้างการรับรู้ร่วมกันไปพร้อมกับการสร้างความเข้าใจว่า “สภาพแวดล้อมของโลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”

อย่างไรก็ตามความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น ยังเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้ และแก้ไขอยู่เสมอ Mitch Prinstein นักจิตวิทยาจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ได้ให้คำแนะนำเพื่อบรรเทาและรับมือกับ Climate Anxiety หรือ Eco-anxiety ไว้ดังนี้
  • ไม่ต้องตามทุกดราม่า ในโลกยุคปัจจุบันที่ข่าวสารข้อมูลสามารถเข้าถึงได้สะดวก นิวส์ฟีดบนโซเชียลที่ถาโถมเข้ามาหาเราได้ตลอดเวลา การเลือกเสพข้อมูลข่าวสารจึงเป็นเรื่องจำเป็น คอนเทนต์สิ่งแวดล้อมที่จั่วหัวด้วยคำพูดเชิงลบอาจเป็นตัวกระตุ้น Climate Anxiety ของเราได้ ดังนั้นหากรู้สึกตื่นกลัวหรือไม่สบายใจ ลองตั้งสติและทำความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม การศึกษาเปรียบเทียบจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือจะช่วยให้ใจสงบได้
  • เริ่มต้นได้ที่ตัวเราเอง บ่อยครั้งที่เราหลงลืมไปว่าการเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเกิดจากหลายคนร่วมด้วยช่วยกัน ก็ขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ที่เรามุ่งหวังได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้สินค้าหรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแหล่งพลังงานบางจุดในบ้านไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ การเปลี่ยนหัวฝักบัวมาเป็นแบบที่ช่วยประหยัดน้ำ หรือลองเริ่มคัดแยกขยะที่ใช้ในครัวเรือนก่อนทิ้งลงถัง แอคชันที่ไม่ได้กดดันตัวเองมากเกินไปเหล่านี้ ช่วยลดอาการ Climate Anxiety และยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยืนในระยะยาวอีกด้วย
  • มีส่วนร่วมกับชุมชน การสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือการมีส่วนร่วมในชุมชนที่ตื่นตัวเกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศอยู่แล้ว จะช่วยทำให้เรามีแรงบันดาลใจ และอยากเริ่มทำอะไรสักอย่างได้มากขึ้น เพราะทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและได้รับการสนับสนุนอยู่ตลอด
  • สนับสนุนคนรุ่นใหม่ หากตัวเราไม่มีแรง ไม่พร้อมจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเองได้ เราอาจสนับสนุน รับฟังคนรุ่นใหม่ และเป็นกระบอกเสียงให้นักเคลื่อนไหวที่ออกมาพูดแทนเรา สนับสนุนโดยการบริจาคหรือกระจายให้คนรอบตัวเราตระหนักรู้ พูดแทนกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เรื่องราวของเขาถูกได้ยิน หรือลงชื่อเพื่อร่วมผลักดันกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • อย่าหยุดใช้ชีวิต แบ่งเวลาให้กิจกรรมที่เราพึงพอใจ อย่าให้ความกลัวจาก Climate Anxiety ทำให้เราไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ดูแลสุขภาพตัวเอง ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย พักผ่อนเมื่อรู้สึกตึงเครียดมากเกินไป และยอมรับว่าเราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ แต่ก็ได้ทำทุกวิถีทางแบบเต็มที่ไปแล้ว

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ (Climate Anxiety หรือ Eco-anxiety) ไม่ใช่ความกลัวที่ปราศจากที่มา และถามหาความหมายไม่ได้ หากแต่เป็นภาพความจริงที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ การร่วมมือกันเพื่อฝ่าฟันความท้าทายนี้ ให้ผ่านพ้นไปด้วยถือเป็นเรื่องจำเป็น สำหรับ SCGC ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาค ก็พร้อมที่เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อน ผ่านการคิดค้น พัฒนาและปรับปรุงโซลูชันพอลิเมอร์ครบวงจร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เสริมความยั่งยืนให้กับชุมชน และสร้างการเติบโตให้กับภาคธุรกิจ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

เครดิตรูปภาพ:

Published on: Mar 3, 2023

(Visited 516 times, 1 visits today)