“เอสซีจี” ชู 3 ธุรกิจ เตรียมพร้อม “คน” พาองค์กรฝ่าทุกวิกฤติ

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวในหัวข้อ “ซีอีโอ Big Crop สู่ธุรกิจแห่งอนาคต” ภายในงาน สัมมนา Thailand Economic Outlook 2023 จัดโดยกรุงเทพธุรกิจว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเราเจอวิกฤติซ้อนวิกฤติในหลายเรื่องจากเรื่องของสงครามการค้า เรื่องของโควิด-19 และมาเรื่องของเงินเฟ้อ ซึ่งหลายคงมองว่าเป็นเรื่องของภาวะชั่วคราว แต่เมื่อมาเจอวิกฤติยูเครนกับรัสเซียที่กระทบไปทั่วโลก สงผลต่อเรื่องของราคาพลังงาน และราคาสิ้นค้า ตามมาถึงเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ยต่อเรื่อง

สิ่งที่มองว่าจะเป็นวิกฤตต่อไปคือเรื่องของภาวะโลกร้อน และโลกรวนจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภาวะอากาศ และส่งผลกระทบมากที่สุดเมื่อเทียบกับวิกฤติอื่น โดยไม่ว่าจะเผชิญกับวิกฤติอะไร ก็ต้องทำในเรื่องของการเอาตัวรอดให้องค์กรอยู่ได้ และการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ โดยส่วนสำคัญคือเรื่องของคนจะทำอะไรก็ตามในการเปลี่ยนแปลงองค์กร ก็คือคนจะต้องมีความพร้อม องค์กรมีคนอยู่การทำอะไรที่มี การเปลี่ยนแปลงแล้วคนต้องไปทำในเรื่องที่เปลี่ยนแปลง การทำในเรื่องต่างๆที่เป็นเรื่องที่ค่อย ๆ ทำแล้วช่วยกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสให้กับธุรกิจ

“ที่ผ่านมาเอสซีจีเจอมาทุกวิกฤติ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นปัจจุบันเราอาจไม่ได้เจอในเรื่องของ New normal อีกแล้ว แต่เป็น Never Normal องค์กรต้องทำทั้งในเรื่องของการเอาตัวรอดจากธุรกิจ และการหาโอกาสใหม่ๆ และต้องเตรียม ‘คน’ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง” นายรุ่งโรจน์กล่าว

สิ่งที่เอสซีจีจะไปใน 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของโลกร้อน เป็นทั้งพลังงานลม แสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพ (ไบโอแมส) ในเรื่องของ จากขยะไปสู่พลังงาน “Wates to energy” ที่จะเป็นโอกาสของเอสซีจี ในส่วนของปลายน้ำ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัย และสำนักงาน เอสซีจีมีการตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “SUSAN” มีโปรแกรมที่ลงทุนและร่วมทุนกับบริษัท ต่างๆเพื่อทำธุรกิจพลังงานร่วมกัน นอกจากนั้นมีการตั้งบริษัท scg cleanergy ที่มีโปรแกรมที่ลงทุนให้กับผู้ประกอบการในลักษณะที่ร่วมทุนกัน

2.ธุรกิจ Better Living การทำให้บ้าน หรือที่ทำงานอยู่สบายมากขึ้นอยู่ได้สบายกว่าเดิม ทำระบบที่ช่วยการประหยัดพลังงาน และมลพิษที่มีอยู่ในอากาศ ทั้งระบบในบ้าน สำนักงานให้อยู่สบายมากขึ้น และประหยัดพลังงาน ซึ่งมีระบบที่เรียกว่า SCG HVAC AirScrubber ที่ช่วยในเรื่องมลพิษในอากาศทั้งในสำนักงาน สนามบิน ห้องประชุม รวมทั้งมีระบบที่ดูแลเรื่องความสะอาด และเชื้อโรคที่ใช้ทั้งบ้านและสำนักงาน

ขณะที่การปิดจุดอ่อนในระบบการบริหารงานก่อสร้างทั้งหมด ที่เรียกว่าระบบ BIM (Building Information Modeling) เพื่อช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน เป็นแพลตฟอร์มที่ลดค่าใช้จ่ายและของที่เหลือมากเกิน ในการก่อสร้างที่หากสามารถลดลงไปได้ประมาณ 15% ก็จะลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการก่อสร้างที่ปกติมีอยู่ประมาณ 30% ลงไปครึ่งหนึ่ง รวมทั้งยังมีเทคโยโลยี 3D printing ที่ช่วยให้มีการออกแบบสินค้าที่มีรูปลักษณ์ตรงกับความต้องการของลูกค้า

และ 3.ธุรกิจ ออร์โตเมติกส์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเอสซีจีได้ปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความพร้อม กับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อ สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี เครื่องจักร (Mechanization) ระบบอัตโนมัติ (Automation) เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics)

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี

ตลอดจนเทคโนโลยีดิจิทัลอื่น ๆ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจในทุกขั้นตอน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นโรงงานอัจฉริยะและนำไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะช่วยลูกค้าและคู่ค้าในการช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนแรงงาน การทดแทนพนักงานที่เป็นแรงงานอายุมาก

ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดโอกาสในธุรกิจหุ่ยยนต์ และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ยังสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ซึ่งสามารถที่ทำโมเดล เพื่อเรียนรู้การทำงานในระบบเสมือจริงเพื่อที่ทำให้ทดลองก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเริ่มมีการใช้ในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น ในปัจจุบันทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาในการทำงาน และช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดอัตราการเกิดของเสีย (defect) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลดใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในงานอันตราย ลดขั้นตอนและลดเวลาการทำงานของแรงงาน และเป็นการเตรียมพร้อมรับมือ ภาวะขาดแคลนแรงงานในอนาคต ซึ่งการลงทุนในระบบ Automation เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจควบคู่กับ การดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิด ESG (Environmental, Social and Governance)

“การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นมาแน่ๆ เราต้องทำในเรื่องนี้ไว้ และถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสำคัญที่ต้องทำ เอสซีจีเป็นองค์กรที่แปลกอย่างหนึ่ง พอเกิดวิกฤตทีไรเราจะรอดแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ดี แต่ถ้าไม่เกิดวิกฤติไปเรื่อย ๆ ก็จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงมาก สิ่งที่ต้องสื่อสารคือเมื่อเกิดวิกฤตคนในองค์กรก็ต้องสู้เพื่อจะเอาตัวรอด และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้”นายรุ่งโรจน์กล่าว

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

Published on: Oct 6, 2022

(Visited 463 times, 1 visits today)