เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รู้จักกันดีภายใต้ชื่อเรียกสั้นๆว่า “ปูนใหญ่” เป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 100 ปี ปัจจุบันเน้น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง, เอสซีจี เคมิคอลส์ และเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ด้วยความที่เป็นองค์กรใหญ่มีฐานการผลิตกระจายออกไปนอกประเทศ และเชื่อมโยงตลาดการค้าแบบไร้พรมแดน ทำให้ถูกจับตามองเป็นพิเศษถึงการขยับตัวในภาวะที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นับเป็นวิกฤติที่ท้าทาย
“ฐานเศรษฐกิจ”สัมภาษณ์นาย รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ถึงการปรับตัวและรับมือกับความท้าทายครั้งนี้และการปรับวิธีคิด ให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงไปให้ได้
ปรับกลยุทธ์เชิงรุกฝ่าโควิด-19
กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่าในขณะที่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบไปยาวนานแค่ไหน แต่เอสซีจีก็พร้อมปรับตัวรับมือความท้าทายเหล่านี้เต็มที่ เพื่อให้ทุกฝ่ายก้าวผ่านวิกฤติไวรัสโควิด-19ที่รุนแรงครั้งนี้ไปได้โดย
เฉพาะทุกธุรกิจ ด้วยการปรับกลยุทธ์เชิงรุก เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการบริหารจัดการใน 5 ด้านหลัก ได้แก่
- การบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (Business Continuity Management) ด้วยการมุ่งเน้นเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยให้พนักงานที่สำนักงานกว่า 90 % สามารถทำงานได้จากที่บ้าน (Work from home) ขณะที่มีการเสริมมาตรการด้านสุขอนามัยเพื่อให้พนักงานที่ยังต้องทำงานในโรงงานสามารถดำเนินงานได้อย่างปลอดภัย และสามารถส่งมอบสินค้าและบริการให้ลูกค้ามั่นใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การปรับลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะส่วนที่ลดได้ทันที เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น จากนั้นจะมีการตรวจสอบว่าค่าใช้จ่ายส่วนใดที่สามารถชะลอไว้หรือตัดออกได้ ก็จะตัดออกให้มากที่สุด ขณะที่การลงทุนในโครงการต่าง ๆ จะพิจารณาอย่างระมัดระวังที่สุด โดยเลือกลงทุนในโครงการที่มีประโยชน์กับธุรกิจจริง ๆ หากโครงการใดสามารถชะลอเพื่อรอดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ ก็จะชะลอไว้ก่อน
- การจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ของธุรกิจ โดยเน้นการบริหารจัดการกระแสเงินสดเป็นหลัก พร้อมเน้นการทำงานที่รวดเร็วและยืดหยุ่นในการปรับตัวตามพฤติกรรมและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า เช่น สินค้าบางประเภทที่ไม่สามารถขายให้กับลูกค้าในรูปแบบเดิมได้ ก็จะขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งขณะนี้มีภาพการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างชัด เช่น “เอสซีจี โฮม (SCG HOME)” ที่มีกระแสตอบรับดีจากลูกค้า
- การนำศักยภาพเทคโนโลยีมาใช้เต็มรูปแบบ ทั้งในขั้นตอนการดำเนินธุรกิจและการทำงาน เพื่อให้การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งมอบโซลูชันสินค้าและบริการไปยังลูกค้าทุกกลุ่มมีความสะดวกและปลอดภัย ควบคู่กับการช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปได้ เช่น การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการผลักดันการใช้บล็อกเชน (Blockchain) ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง-วางบิล-ชำระเงินกับคู่ธุรกิจให้เพิ่มขึ้น
- การมองหาโอกาสในตลาดใหม่ เพราะมีอีกหลายประเทศที่ต้องการจะพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศให้เข้มแข็ง เอสซีจีจึงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งเพิ่มเติมให้กับการลงทุนที่มีในปัจจุบัน เพื่อสร้างให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาวต่อไป
“ผมเชื่อว่าทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส เดิมทีการที่เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องใช้เวลา1-2ปี แต่ตอนนี้สามารถนำมาใช้ได้เลย เพราะทุกคนยอมรับที่จะเปลี่ยน ซึ่งตอนนี้ตามแผนการปรับตัวเชิงรุกเราปรับไปแล้วใน 4 ด้าน ส่วนด้านที่ 5 เป็นเรื่องในอนาคตระยะยาวซึ่งต้องตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อให้เราปรับกลยุทธ์ในระยะยาวไปได้ พร้อม ๆ กับสิ่งที่เราทำในระยะสั้นหรือระยะปานกลาง”
เพิ่มความยืดหยุ่นตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจ
นายรุ่งโรจน์ กล่าวอีกว่า จาก 5 กลยุทธ์หลักดังกล่าวนั้น ได้นำมาสู่แผนงานเพื่อปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการในแต่ละธุรกิจให้สอดคล้องและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมทั้งพาคู่ธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปพร้อมกันได้ โดย ธุรกิจแพคเกจจิ้ง มุ่งขายสินค้าและบริการด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรให้ตอบโจทย์และทันต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
โดยเฉพาะจากการสั่งอาหารเดลิเวอรี่และการซื้อสินค้าออนไลน์ ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยในการผลิตและการขนส่งบรรจุภัณฑ์ ประกอบกับการบริหารจัดการโรงงานให้สามารถดำเนินการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดได้อย่างต่อเนื่อง
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมทั้งหมด ได้ที่ THANSETTAKIJ