ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ อีกหนึ่งความปลอดภัย ที่ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก

นวัตกรรมที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ นอกจากจะตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยแล้ว ความสะดวกในการใช้งาน ทั้งการติดตั้งและเคลื่อนย้าย ก็เป็นสิ่งที่บุคลากรการแพทย์ต้องการ เพื่อการใช้งานอย่างไม่มีข้อจำกัด

 ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ (Negative/Positive Pressure Isolation Chamber) ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการตรวจวินิจฉัย

  • สำหรับใช้ตรวจวินิจฉัย (Swab) โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ออกแบบเป็นทรงกระบอกแนวตั้งสำหรับผู้ป่วย 1 คน ต่อ 1 ห้อง
  • ใช้ระบบปรับความดันอากาศที่สามารถกำหนดก่อนติดตั้งได้ว่าจะให้เป็นห้องความดันลบหรือบวก โดยจะเลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานของแพทย์ดังนี้
    • ความดันลบ : เมื่อต้องการตรวจเชื้อโดยแพทย์อยู่ด้านนอก เหมาะกับการตรวจผู้ป่วย PUI (Patient Under Investigation) สำหรับใช้งานภายในอาคาร
    • ความดันบวก : เมื่อต้องการตรวจเชื้อโดยแพทย์อยู่ด้านใน เหมาะกับการใช้งานกับคนไข้นอก OPD ที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก ควรติดตั้งภายนอกอาคารที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • 1 ชุด ประกอบด้วยห้องตรวจเชื้อ 3 ห้อง
  • สามารถส่งอุปกรณ์การตรวจผ่านช่องด้านหน้า โดยใช้ระบบ Pass Box ที่เป็นซิป 2 ชั้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
  • ทำงานด้วยระบบความดันลบหรือบวก ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอากาศที่ไหลเข้าหรือออกจากห้อง จะถูกกรองผ่านเครื่องกรองเชื้อโรคระดับ HEPA สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็ก เช่น PM5 PM1 รวมถึงแบคทีเรียและไวรัส  จึงปลอดภัยต่อแพทย์และเจ้าหน้าที่
  • ทางเข้าเป็นซิปรูดสำหรับการเปิด-ปิด สะดวกต่อการใช้งาน ด้านหน้าเจาะช่องและปิดด้วยพลาสติกใส เพื่อให้แพทย์และพยาบาลมองเห็นและสื่อสารกับผู้ป่วยได้ มีช่องเพื่อสอดมือสำหรับทำหัตถการได้จากทั้งภายในและภายนอกตามการติดตั้งระบบความดันอากาศ
  • ด้านบนเป็นตะแกรง Fillet สามารถดักกรองเชื้อโรคได้
  • โครงสร้างผลิตจากอะลูมิเนียมอัลลอย ยึดครอบด้วยผ้าใบ PVC เคลื่อนย้ายสะดวก ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
ความดันลบ : เมื่อต้องการตรวจเชื้อโดยแพทย์อยู่ด้านนอก เหมาะกับการตรวจผู้ป่วย PUI
ความดันบวก : เมื่อต้องการตรวจเชื้อโดยแพทย์อยู่ด้านใน เหมาะกับการใช้งานกับคนไข้นอก OPD

* ผ่านการทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์
** ทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในห้องตรวจด้วยวิธีการ ฆ่าเชื้อของโรงพยาบาล ควรหลีกเลี่ยงการฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV เพื่อให้อายุการใช้งานยาวนาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ email: medandwellness@scg.com

(Visited 11,013 times, 1 visits today)