คุณเชื่อไหมว่า เราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ด้วยคำถาม? เหมือนสองพี่น้อง-วิลเบอร์ และออร์วิลล์ ไรต์ ที่เกิดคำถามขึ้นว่า เทคโนโลยีในโลกที่เรามีจะช่วยให้มนุษย์เหินบินในอากาศได้อย่างไร? ก่อนจะทุ่มเททุกอย่างด้วยตนเองโดยปราศจากทุนรอนหรือความช่วยเหลือจากรัฐ ออกแบบสร้างอุปกรณ์การบินจากร้านจักรยาน จนภาพจินตนาการของพวกเขากลายเป็นจริงขึ้นมาได้ บิลล์ เกตส์ เป็นคนขี้อายและมักอึดอัดเวลาเข้าสังคม ความจริงแล้วเขาไม่เหมาะกับการเป็นผู้นำองค์กรธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านเท่าไรนัก และไม่ใช่นักพูดที่ต้องใช้พลังในที่สาธารณะ…
Category News: Sustainability & ESG
เอสซีจีสานพลังประชารัฐ ผ่าทางตันชุมชนบึงบางซื่อ โมเดลการพัฒนาที่ชุมชนออกแบบเอง [Advertorial]
จากบ่อฝรั่ง สู่ บึงบางซื่อ ‘บึงบางซื่อ’ บึงน้ำขนาดใหญ่กลางเมือง แออัดไปด้วยบ้านเรือน ไม่มีถนนเข้า-ออกแห่งนี้ เป็นที่อาศัยของผู้คนกว่า 250 ครัวเรือน รวมประมาณ 1,300 คน ย้อนไปเมื่อ 103…
สานพลังประชารัฐบึงบางซื่อ พลิกฟื้นชุมชนแออัดสู่ชุมชนเมืองต้นแบบ
กรุงเทพฯ : 9 เมษายน 2561 – เอสซีจี ผนึกกำลังภาครัฐ เอกชน และชุมชน ขับเคลื่อน “โครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ” ร่วมพลิกฟื้นชุมชนแออัดรอบบึงบางซื่อ มุ่งเป็นต้นแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน 4…
‘เรือเล็กควรออกจากฝั่ง’ บ้านปลาสู่ความอุดมสมบูรณ์ และความยั่งยืนของชุมชนประมงชายฝั่ง
‘ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง’ มักเป็นประโยคปิดท้ายประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลาที่ทะเลอันดามันได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ราวเดือนมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี เป็นเหตุให้เกิดฝนตกชุกหนาแน่น และทะเลมีคลื่นสูงกว่า 2 – 3 เมตร หลายคนเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่า ‘หน้ามรสุม’ หน้ามรสุม ความสูงของคลื่นทะเล หรือกระทั่งประกาศเตือน ‘เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง’…
ร่วมมือ เรียนรู้ ลงมือทำ และส่งต่อ เคล็ดไม่ลับของการฟื้นฟูธรรมชาติ
เมื่อพูดถึงโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ หลายคนคงนึกถึงผงฝุ่นลอยคละคลุ้งท่ามกลางเปลวแดดแผดร้อน แต่ทันทีที่รถของเราเลี้ยวเข้าประตูของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด สิ่งที่เราได้พบกลับเป็นต้นไม้น้อยใหญ่ที่ขึ้นเรียงรายหนาแน่นตลอดสองข้างทาง สำหรับคนทั่วไป โรงงานอุตสาหกรรมคือเหรียญคนละด้านกับการฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับ ‘ปูนลำปาง’ โรงงานในประเทศแห่งที่ 5 ของเอสซีจี เรื่องราวดูจะกลับตาลปัตรพลิกผัน “ตอนที่เราตั้งโรงงาน…
‘ศูนย์ความรู้ผู้สูงวัย’ กับความสะดวกและความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุไปสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์’ จากสถิติของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่าภายในปี 2564 จะมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า 9 ล้านคน ซึ่งกลายเป็นโจทย์สำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า เราจะออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บหรือโรคแทรกซ้อนจากการหกล้มของผู้สูงอายุได้อย่างไร ‘หกล้ม’ หนึ่งในปัจจัยการเสียชีวิตของผู้สูงวัย นอกจากตัวเลขอายุที่เพิ่มมากขึ้น การก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุยังมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการหกล้มซึ่งนำไปสู่อาการเจ็บป่วยอื่นๆ โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของผู้สูงอายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการหกล้ม ไม่ว่าจะเป็นการเสื่อมของสายตา การเคลื่อนไหวที่ทำได้ไม่สะดวกแคล่วคล่องเหมือนกับวัยหนุ่มสาว อีกทั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ผู้สูงอายุก็มักจะฟื้นฟูร่างกายได้ช้า ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะจากข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าการหกล้มในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเสียชีวิต โดยในปี 2560 มีผู้สูงอายุหกล้มประมาณ 4 ล้านราย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณบ้านของตนเอง เช่น ในห้องนอนหรือห้องน้ำ และทำให้มีอาการอื่นตามมา เช่น การฟกช้ำ แผลถลอก กระดูกหัก หรือมีผลต่อโรคประจำตัวที่อาจทวีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ให้ Big Data ช่วยวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่ออุบัติเหตุหกล้มไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย จึงนำมาสู่ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและ SCG Eldercare Solution ในการพัฒนางานวิจัยจาก Big Data ที่เกิดจากการติดตั้งเซนเซอร์เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้สูงอายุในที่อยู่อาศัย ก่อนจะนำมาวิเคราะห์และต่อยอดเป็นการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ ในที่อยู่อาศัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุที่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน ตัวอย่างเช่น การออกแบบเตียงที่ปรับระดับสูง–ต่ำได้ การพัฒนาลูกบิดประตูที่ใช้แรงบิดน้อย หรือการพัฒนาวัสดุปูพื้นที่ป้องกันการลื่น นุ่มสบายไม่เย็นเท้า และลดแรงกระแทกได้ด้วย นอกจากนั้น ทั้งสององค์กรยังต่อยอดผลการวิจัยเป็นความร่วมมือในการจัดตั้ง ‘ศูนย์ความรู้ผู้สูงวัย’ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติก่อนออกจากโรงพยาบาล รวมไปถึงการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างทางร่างกายของแต่ละบุคคล เพื่อการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละราย สูงวัย รู้ทัน ป้องกันได้ การทำงานร่วมกันระหว่างศาสตร์ทางการแพทย์ พฤติกรรมศาสตร์สรีรศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและเอสซีจี แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการผสานความร่วมมือแบบข้ามศาสตร์ (multi-disciplinary…
เอสซีจี โชว์ศักยภาพ R&D ตอบโจทย์ตลาดโลก
ระยอง (8 มีนาคม 2561): กลุ่มธุรกิจเคมิคอลส์ ในเอสซีจี ทุ่มงบกว่า 3,600 ล้านบาท ผลักดันงานวิจัยสู่ตลาดโลก เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ รวมถึงโซลูชั่นใหม่ ๆ ล่าสุด จัดทัพนวัตกรรมพลาสติก…
จากภูผาสู่มหานที แม้แต่ละพื้นที่ต้องการความ ‘รักษ์’ ไม่เหมือนกัน แต่ล้วนเชื่อมโยงกันจากต้นจรดปลายน้ำ [Advertorial]
ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่ -เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ ชีวิตมนุษย์พึ่งพาธรรมชาติ มนุษย์ต้องดูแลรักษาธรรมชาติ -เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ แต่ที่หลายคนอาจยังไม่รู้คือถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าธรรมชาติเหมือนกัน แต่ภูมิประเทศแต่ละพื้นที่นั้นต้องพึ่งพาวิธีการ ‘รักษ์’ และฟื้นฟูที่ไม่เหมือนกัน แรกเริ่มจากภูผา เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง การ ‘รักษ์’…
เรื่องเล่าจากบ้านสาแพะ ปลุกความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
เช้ามืดของวันหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ในแปลงเกษตรขนาดใหญ่ แสงไฟวับแวมที่มองเห็นเป็นจุดๆ ในระยะไกล คือแสงจากไฟฉายที่คาดไว้กับศีรษะของพี่ป้าน้าอาซึ่งกำลังผสมเกสรของต้นมะระ เรามีนัดกับเกษตรกรที่บ้านสาแพะ หมู่บ้านขนาด 153 หลังคาเรือนในตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง สำหรับชาวบ้านที่บ้านสาแพะ การเกษตรคืออาชีพหลักของคนที่นี่ ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นได้หลังจากมีการบริหารจัดการน้ำที่ชุมชนแห่งนี้ เราเข้าร่วมกิจกรรมผสมพันธุ์พืชและพูดคุยกับชุมชน …