ทำขยะให้เป็นสินทรัพย์ ผลิต-ใช้-ทิ้ง เข้าสู่วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียน

เห็นถุงผ้าสวยๆ กระบอกน้ำทรงแปลกๆ ก็อดใจไม่ได้ที่จะต้องมีไว้ในครอบครอง ยิ่งเทรนด์การลดขยะ ลดการใช้พลาสติกกำลังมาด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เราอยากจะแสดงความรับผิดชอบต่อโลกมากขึ้น แต่ตั้งใจได้ไม่เท่าไร เผลอทีไร ถุงผ้าสวยๆ ที่มีเต็มบ้าน พอจะใช้ก็ดันลืมพกทุกที บางใบก็สวยเกินจนกลัวจะเลอะ ส่วนกระบอกน้ำก็หนักและใหญ่เกินไปจนไม่อยากพก กลับมาติดความสะดวกสบาย ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งแบบเดิมๆ…

Circular Economy หมุนเวียนเพื่อเปลี่ยน “โลกให้ยั่งยืน” ความร่วมมือครั้งใหญ่จาก SCG กับทุกภาคส่วนในงาน SD Symposium 2018

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy แม้เรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้จักและยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ว่าระบบเศรษฐกิจนี้มีพลังในการเปลี่ยนโลกธุรกิจและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีพลังมหาศาล นับเป็นเรื่องที่สื่อการตลาดอย่าง Marketeer ให้ความสนใจเป็นพิเศษพร้อมกับอยากรู้ว่าระบบเศรษฐกิจดังกล่าว รูปแบบและแนวคิดเป็นอย่างไร ที่สำคัญ แล้วจะเปลี่ยนโลกเศรษฐกิจได้จริงหรือ? จึงเป็นที่มาให้เราต้องเดินทางไปรับฟังงานสัมมนา SD Symposium…

“ความรัก 101” วิชาความรักฉบับ SCG ที่ทุกคนสอบผ่านได้ เพียงเริ่มต้นด้วย “ความเข้าใจ”

ใครๆ ก็อยากได้ “ความรัก…ที่ยั่งยืน” แต่จะทำอย่างไรละถึงจะได้มา ? จะเห็นได้ว่า “ความรัก” ไม่ใช่ถ้อยคำเพียงแค่ “รัก” เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการลงมือทำ ผสานกับ “ความเข้าใจ” จึงจะทำให้ความรักเกิดเป็น “ความรักที่แท้จริง” เพราะถ้าเรา “ไม่มีความเข้าใจ” ความรักก็อาจมีปัญหาตามมา…

ครูมองเห็นอะไรในเด็กอาชีวะ? หนังสั้นจากมูลนิธิเอสซีจีที่ชวนให้คุณคิดต่อ

ครูมองเห็นอะไรในเด็กอาชีวะ? หนังสั้นจากมูลนิธิเอสซีจีที่ชวนให้คุณคิดต่อ ครู… มองเห็นอะไร หนังสั้นเรื่อง Believe จากโครงการอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ โดยมูลนิธิเอสซีจี เล่าถึงเรื่องราวของครูและนักเรียนอาชีวะ ภาพแรกที่เราเห็นจากหนังคือภาพของผู้ใหญ่อาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร นายช่าง เจ้าของกิจการ ฯลฯ ไม่ใช่นักเรียนอาชีวะในเครื่องแบบปกติที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป ทั้งหมดนี้เป็นภาพจากสายตาของครูที่ยืนสอนอยู่หน้าห้องเรียน ครูผู้ใช้ชีวิตคลุกคลีกับเด็กอาชีวะมาโดยตลอด…

ลงมือ ทำ ‘บ้านปลา’ นวัตกรรมที่คืนสิ่งดีๆ ให้ท้องทะเลไทย

ถึงแม้มื้อเที่ยงจะเพิ่งผ่านมาไม่กี่ชั่วโมง และร่างกายก็ยังไม่ส่งสัญญาณว่าต้องการพลังงานจากอาหาร แต่หลังจากพล่าปลาจานแรกวางบนโต๊ะ พวกเราแต่ละคนก็ดูเหมือนจะถูกครอบงำด้วยมนต์สะกดของอาหารทะเลสดใหม่ที่ถูกปรุงรสชาติด้วยฝีมือของผู้ที่นำมันขึ้นมาจากท้องทะเล ลมทะเลยามเย็นโบกโชย เสียงคลื่นสาดกระทบฝั่ง และโต๊ะอาหารเปิดโล่ง 360 องศา นี่ไม่ใช่มื้ออาหารราคาแพงในห้องหรูหรา มันเป็นเพียงมื้อเย็นเรียบง่ายจากฝีมือของชาวประมงพื้นบ้านที่มีท้องทะเลเป็นสถานที่ฟูมฟักดูแลกุ้งหอยปูปลาอันเป็นทั้งแหล่งอาหารและแหล่งรายได้ของพวกเขา เรื่องราวชีวิตของชาวประมงชายฝั่งทะเลที่เราได้ฟัง เริ่มต้นจากตรงนี้ การกลับคืนของทรัพยากรทางทะเล สมัคร…

‘Passion for Better’ โลกเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความสงสัยและใคร่รู้

คุณเชื่อไหมว่า เราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ด้วยคำถาม? เหมือนสองพี่น้อง-วิลเบอร์ และออร์วิลล์ ไรต์ ที่เกิดคำถามขึ้นว่า เทคโนโลยีในโลกที่เรามีจะช่วยให้มนุษย์เหินบินในอากาศได้อย่างไร? ก่อนจะทุ่มเททุกอย่างด้วยตนเองโดยปราศจากทุนรอนหรือความช่วยเหลือจากรัฐ ออกแบบสร้างอุปกรณ์การบินจากร้านจักรยาน จนภาพจินตนาการของพวกเขากลายเป็นจริงขึ้นมาได้ บิลล์ เกตส์ เป็นคนขี้อายและมักอึดอัดเวลาเข้าสังคม ความจริงแล้วเขาไม่เหมาะกับการเป็นผู้นำองค์กรธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านเท่าไรนัก และไม่ใช่นักพูดที่ต้องใช้พลังในที่สาธารณะ…

เอสซีจีสานพลังประชารัฐ ผ่าทางตันชุมชนบึงบางซื่อ โมเดลการพัฒนาที่ชุมชนออกแบบเอง [Advertorial]

จากบ่อฝรั่ง สู่ บึงบางซื่อ ‘บึงบางซื่อ’ บึงน้ำขนาดใหญ่กลางเมือง แออัดไปด้วยบ้านเรือน ไม่มีถนนเข้า-ออกแห่งนี้ เป็นที่อาศัยของผู้คนกว่า 250 ครัวเรือน รวมประมาณ 1,300 คน ย้อนไปเมื่อ 103…

‘เรือเล็กควรออกจากฝั่ง’ บ้านปลาสู่ความอุดมสมบูรณ์ และความยั่งยืนของชุมชนประมงชายฝั่ง

‘ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง’ มักเป็นประโยคปิดท้ายประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลาที่ทะเลอันดามันได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ราวเดือนมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี เป็นเหตุให้เกิดฝนตกชุกหนาแน่น และทะเลมีคลื่นสูงกว่า 2 – 3 เมตร หลายคนเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่า ‘หน้ามรสุม’ หน้ามรสุม ความสูงของคลื่นทะเล หรือกระทั่งประกาศเตือน ‘เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง’…

ร่วมมือ เรียนรู้ ลงมือทำ และส่งต่อ เคล็ดไม่ลับของการฟื้นฟูธรรมชาติ

เมื่อพูดถึงโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ หลายคนคงนึกถึงผงฝุ่นลอยคละคลุ้งท่ามกลางเปลวแดดแผดร้อน แต่ทันทีที่รถของเราเลี้ยวเข้าประตูของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด สิ่งที่เราได้พบกลับเป็นต้นไม้น้อยใหญ่ที่ขึ้นเรียงรายหนาแน่นตลอดสองข้างทาง สำหรับคนทั่วไป โรงงานอุตสาหกรรมคือเหรียญคนละด้านกับการฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับ ‘ปูนลำปาง’ โรงงานในประเทศแห่งที่ 5 ของเอสซีจี เรื่องราวดูจะกลับตาลปัตรพลิกผัน “ตอนที่เราตั้งโรงงาน…

‘ศูนย์ความรู้ผู้สูงวัย’ กับความสะดวกและความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุไปสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์’ จากสถิติของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่าภายในปี 2564 จะมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า 9 ล้านคน ซึ่งกลายเป็นโจทย์สำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า เราจะออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บหรือโรคแทรกซ้อนจากการหกล้มของผู้สูงอายุได้อย่างไร ‘หกล้ม’ หนึ่งในปัจจัยการเสียชีวิตของผู้สูงวัย นอกจากตัวเลขอายุที่เพิ่มมากขึ้น การก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุยังมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการหกล้มซึ่งนำไปสู่อาการเจ็บป่วยอื่นๆ โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของผู้สูงอายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการหกล้ม ไม่ว่าจะเป็นการเสื่อมของสายตา การเคลื่อนไหวที่ทำได้ไม่สะดวกแคล่วคล่องเหมือนกับวัยหนุ่มสาว อีกทั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ผู้สูงอายุก็มักจะฟื้นฟูร่างกายได้ช้า ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะจากข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าการหกล้มในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเสียชีวิต โดยในปี 2560 มีผู้สูงอายุหกล้มประมาณ 4 ล้านราย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณบ้านของตนเอง เช่น ในห้องนอนหรือห้องน้ำ และทำให้มีอาการอื่นตามมา เช่น การฟกช้ำ แผลถลอก กระดูกหัก หรือมีผลต่อโรคประจำตัวที่อาจทวีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ให้ Big Data ช่วยวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่ออุบัติเหตุหกล้มไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย จึงนำมาสู่ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและ SCG Eldercare Solution ในการพัฒนางานวิจัยจาก Big Data ที่เกิดจากการติดตั้งเซนเซอร์เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้สูงอายุในที่อยู่อาศัย ก่อนจะนำมาวิเคราะห์และต่อยอดเป็นการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ ในที่อยู่อาศัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุที่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน ตัวอย่างเช่น การออกแบบเตียงที่ปรับระดับสูง–ต่ำได้ การพัฒนาลูกบิดประตูที่ใช้แรงบิดน้อย หรือการพัฒนาวัสดุปูพื้นที่ป้องกันการลื่น นุ่มสบายไม่เย็นเท้า และลดแรงกระแทกได้ด้วย นอกจากนั้น ทั้งสององค์กรยังต่อยอดผลการวิจัยเป็นความร่วมมือในการจัดตั้ง ‘ศูนย์ความรู้ผู้สูงวัย’ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติก่อนออกจากโรงพยาบาล รวมไปถึงการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างทางร่างกายของแต่ละบุคคล เพื่อการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละราย สูงวัย รู้ทัน ป้องกันได้ การทำงานร่วมกันระหว่างศาสตร์ทางการแพทย์ พฤติกรรมศาสตร์สรีรศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและเอสซีจี แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการผสานความร่วมมือแบบข้ามศาสตร์ (multi-disciplinary…