SCGC กับภารกิจ “เพิ่มผืนน้ำ ฟื้นผืนป่า คืนฝูงปลา” เพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืนตามแนวทาง ESG

วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) หลาย ๆ องค์กรได้เดินหน้าขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อโลกและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่ “มนุษย์” อย่างเรา ๆ

SCGC มุ่งมั่นสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน (Chemicals Business for Sustainability)  โดยได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และ ESG (Environmental, Social and Governance) มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนในสังคม โดยให้ความสำคัญกับมิติด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน พร้อมทั้งนำความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมาเป็นโซลูชั่นเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง (Innovation for Better Environment & Society)

ชุมชนคนน้ำดี เก็บน้ำดีมีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ

และในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลกนี้ (World Environment Day) SCGC ขอแบ่งปันเรื่องราว เพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืนผ่านภารกิจ ภารกิจ เพิ่มผืนน้ำ ฟื้นผืนป่า คืนฝูงปลา” ที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเห็นผลเชิงประจักษ์… มาร่วมติดตามเรื่องราวดี ๆ เหล่านี้ไปด้วยกัน

ชุมชนคนน้ำดี เก็บน้ำดีมีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ

“เขายายดาเมื่อก่อนไม่ใช่แบบนี้นะ เมื่อหลายปีที่แล้ว มันเกิดความแห้งแล้งจากการแผ้วถางป่า ที่ผ่านมาเราพยายามแล้วนะในเรื่องการปลูกป่า แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จนเราได้ประสานไปที่บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ เขามาช่วยสอนเราเรื่องการจัดการน้ำ เราได้เขามาเป็นพี่เลี้ยง แล้วเวลามีปัญหา ปรึกษาได้ทุกเรื่อง” ผู้ใหญ่วันดี อิทรพรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง บอกเล่าถึงที่มาก่อนจะร่วมมือกับ SCGC พลิกฟื้นพื้นที่เขายายดา ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์

พี่วันดี อิทรพรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง

ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี 2550  SCGC ได้เริ่มรับรู้ถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำบริเวณพื้นที่รอบเขายายดา ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นการมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกจึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน และจังหวัดระยองเป็นอย่างมาก  SCGC จึงเริ่มภารกิจเพิ่มผืนน้ำ ฟื้นผืนป่า ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมรอบเขายายดา จนกระทั่งนำไปสู่การจัดทำโครงการ “เก็บน้ำดี มีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ” เปลี่ยนชีวิตชุมชนด้วยการบริหารจัดการน้ำและสู้ภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ภายใต้หัวใจสำคัญ 4 ด้านคือ “สร้างคน”  มุ่งสร้างนักวิจัยท้องถิ่นโดยทำงานร่วมกับ SCGC และผู้เชี่ยวชาญ “สร้างกติกา” กำหนดกติกาการใช้น้ำของชุมชนอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของความเกื้อกูลกัน “เก็บข้อมูล” เก็บข้อมูลปริมาณน้ำตามจุดต่าง ๆ โดยบันทึกสถิติอย่างเป็นระบบ สำหรับนำไปกำหนดกติกาการใช้น้ำร่วมกัน “เก็บน้ำ”  เก็บน้ำให้ได้มากและนานที่สุด ด้วยการดูแลแหล่งต้นน้ำ และแหล่งเก็บน้ำของชุมชน

SCGC ได้นำโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ มาบูรณการร่วมกับองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ป่าและน้ำ เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยการปลูกป่า 5 ระดับ หรือการคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่นซึ่งมีเรือนยอดต่างระดับกัน การสร้างฝายชะลอน้ำ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำในช่วงฤดูฝน การขุดลอกคลองเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ และสุดท้ายคือการทำธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ใต้ดิน ประหยัดน้ำสำหรับรดน้ำต้นไม้และพืชผลทางการเกษตร ลดน้ำท่วมขังช่วงหน้าฝน และสร้างความชุ่มชื้นในช่วงหน้าแล้ง

SCGC ร่วมเคียงข้างชุมชน แก้ปัญหาป่าไม้และน้ำอย่างยั่งยืน

จากการทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานราชการในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี ทำให้เกิดผลลัพท์เชิงประจักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับชุมชนอย่างประเมินค่าไม่ได้ อาทิ ช่วยเติมน้ำในลำธารได้ 14.83 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี อุณหภูมิอากาศต่อปีลดลง 1.6 องศาเซลเซียส สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 38.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ พบสัตว์ป่า 123 ชนิด และพรรณไม้อีกกว่า 120 ชนิดพันธุ์

ปลูก เพาะ รัก : ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำ

จากความมุ่งมั่นในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ SCGC จึงเดินหน้าปลูกป่าทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เยาวชน ชุมชนในพื้นที่ และเหล่าจิตอาสา เกิดเป็นโครงการ “ปลูก เพาะ รัก” : ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า

ปลูก เพาะ รัก” ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า

ปลูกต้นไม้ : พลิกฟื้นผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ด้วยการปลูกป่าบก และป่าชายเลน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าชุมชน และกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ  โดยเบื้องต้น SCGC ได้ตั้งเป้าปลูกป่า 1 ล้านต้น ซึ่งได้ปลูกป่าชายเลนไปแล้วกว่า 181,800 ต้น คิดเป็นพื้นที่ 260 ไร่ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,272 ตันคาร์บอนไดออกไซด์*  (*ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566)

เพาะต้นกล้า : จากการฟื้นฟูป่าบริเวณเขายายดา สู่การออมเมล็ดพันธุ์เพื่อสร้างธนาคารต้นไม้  SCGC ได้ร่วมกับชุมชนบ้านมาบจันทร์ เก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพันธุ์ไม้หายาก จัดทำเป็นโรงเรือนเพาะชํากล้าไม้ เพื่อนําเมล็ดพันธุ์จากต้นไม้ในพื้นที่เขายายดามาเพาะขยายพันธุ์ ขณะเดียวกันได้แบ่งปันเมล็ดพันธุ์ให้บุคคลทั่วไปนำไปเพาะ และส่งกลับคืนต้นกล้ามายังโรงเรือน เพื่อดูแลให้เป็นกล้าไม้ที่แข็งแรง พร้อมหยั่งรากลงดินต่อไป ที่ผ่านมาสามารถเพาะต้นกล้าได้มากกว่า 20,000 ต้น

รักษาป่า : การปลูกต้นไม้ในใจคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด SCGC จึงได้ส่งเสริมจิตสำนึกรักป่า ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีพันธกิจร่วมกัน รวมถึงเครือข่ายอาสาสมัครการรวมกลุ่มอนุรักษ์ในท้องถิ่นให้มีการจัดกิจกรรมดูแลพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง เปิดรับสมัครสมาชิกรุ่นใหม่เพื่อสานต่องานของเครือข่าย และร่วมเป็นแกนนำในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต่อไป

บ้านปลาเอสซีจีซี คืนความสมบูรณ์ให้ทะเลไทย

SCGC ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง) และกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัดระยอง หาทางแก้ปัญหาระบบนิเวศ เพื่อคืนความสมดุลสู่ท้องทะเลระยอง ด้วย “นวัตกรรมบ้านปลา” จากท่อ PE100 ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง ที่เหลือจากกระบวนการขึ้นรูปทดสอบในโรงงาน ซึ่งเม็ดพลาสติก PE100 ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทนแดด และแรงดันน้ำ จึงมีความปลอดภัยต่อระบบนิเวศทางทะเล

นับจากการวางบ้านปลาหลังแรกในปี 2555 จนถึงวันนี้ SCGC วางบ้านปลาไปแล้วกว่า 2,260 หลัง  สร้างพื้นที่อนุรักษ์ในทะเลกว่า 50 ตารางกิโลเมตร  เกิดความร่วมมือกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน 43 กลุ่ม* (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566)  นอกจากนี้ ยังได้มีการสำรวจเรื่องไมโครพลาสติก ซึ่งไม่พบไมโครพลาสติกจากท่อ PE100 ในบริเวณบ้านปลาและพี้นที่โดยรอบ

บ้านปลา จากบ้านหลังเล็กของสัตว์ทะเลสู่ชุมชน เพื่อการประมงที่ยั่งยืน

ภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมจะสำเร็จและคงอยู่อย่างยั่งยืนได้นั้น เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคม  สิ่งแวดล้อมจะไปต่อได้หรือไม่ คำตอบนี้จึงอยู่ที่ใจและสองมือของเราทุกคน

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.scgchemicals.com

Published on: Jun 3, 2023

(Visited 388 times, 1 visits today)