SCG Circular Way ทรัพยากรคุ้มค่า หนทางแห่งความยั่งยืน

หลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยการรีไซเคิลและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ระบบเศษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเน้นไปที่การหมุนเวียนทรัพยากรต่างๆ กลับมาใช้ให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์มากที่สุด เพื่อกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

สำหรับการนำแนวคิด Circular Economy มาปรับใช้ในเชิงธุรกิจนั้นมุ่งเน้นไปที่ทรัพยากร ต้องถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยมีการวางแผนและกระบวนการทำงานที่เหมาะสม เพื่อนำของเสียหรือของเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงชุมชนและสภาพแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียง

หนึ่งในบริษัทชั้นนำที่ประยุกต์เอาแนวคิด Circular Economy มาใช้ ได้แก่ เอสซีจี ภายใต้แนวปฎิบัติที่เรียกว่า SCG Circular Way โดยริเริ่มทำโครงการต่างๆ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจัง เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และยังได้ช่วยเหลือชุมชนและคนในท้องถิ่นในเรื่องของหลักการใช้ชีวิตและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

โครงการที่เห็นได้ชัดเจนทั้งในด้านของวิธีการนำหลัก Circular Economy มาปฏิบัติ และผลลัพธ์ที่ได้ คือ ‘นวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100’ ซึ่งทางเอสซีจีจะนำท่อ PE 100 (Polyethylene Pipe) ที่เหลือจากการขึ้นรูปสำหรับทดสอบเม็ดพลาสติก ภายในโรงงาน มาใช้สร้างบ้านปลา เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลและเป็นที่หลบภัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล ปัจจุบันมีบ้านปลาจากท่อ PE 100 มากถึง 1,740 แห่ง โดยจะช่วยคืนความสมดุลของระบบนิเวศบริเวณชายฝั่ง พร้อมกับสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านได้ 1,500 บาท ถึง 3,000 บาทต่อวัน และมีคนเข้าร่วมโครงการในฐานะจิตอาสามากถึง 12,200 คน

นอกจากนี้ยังมีโครงการ ‘ต้นแบบถนนพลาสติกรีไซเคิล’ (Recycled Plastic Road) อีกหนึ่งนวัตกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างเอสซีจีและกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ที่นำพลาสติกใช้แล้ว เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว และถุงใส่อาหาร ที่มาจากการคัดแยกขยะภายในเอสซีจีและครัวเรือนในชุมชนเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง มาบดแล้วไปผสมกับยางมะตอย เพื่อใช้ในการปูถนนภายในนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ระยะทางความยาว 220 เมตร จากการทดสอบพบว่าคุณสมบัติของพลาสติก ช่วยให้ถนนแข็งแรงและต้านทานการกัดเซาะของน้ำได้ดี

“ต้นแบบถนนพลาสติกรีไซเคิล” หรือ “Recycled Plastic Road”
“ต้นแบบถนนพลาสติกรีไซเคิล” หรือ “Recycled Plastic Road”

อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ THE MOMENTUM

(Visited 966 times, 1 visits today)