จะทำอย่างไรได้บ้างกับขยะในบ้าน ชวนดูโมเดลจัดการขยะ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ”

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ (Circular Economy) ดูจะเป็นคำใหม่ที่ถูกพูดถึงมากในฐานะที่เป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ต่อการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก เราได้ยินหลักการที่นำทรัพยากรมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ดูจะเป็นไปได้ยากกับวิถีชีวิตปัจจุบันที่ทุกอย่างต้องง่าย สะดวก รวดเร็ว แค่แยกขยะก่อนทิ้งสำหรับบางคนก็ดูเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และแม้จะพยายามนำทรัพยากรมารีไซเคิลอย่างไร ก็ยังมีขยะล้นเมือง ลามเลยไปถึงท้องทะเลจำนวนมหาศาล ฉะนั้น เราคงไม่อาจจินตนาการออกว่า โฉมหน้าของประเทศไทยที่ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบจะเป็นอย่างไร

ด้วยเล็งเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและความสำคัญของหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ทำให้เอสซีจีผลักดันให้เกิดชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะขึ้นที่จังหวัดระยอง ภายใต้โครงการ ‘ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ’ ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา

ศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจหมุนเวียน เอสซีจี กล่าวว่า เอสซีจีได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการดำเนินนโยบายทางธุรกิจ การรณรงค์ในภาคส่วนต่างๆ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและภาคธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรไม่เพียงพอ และสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียนสมบูรณ์ คือ การบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเอสซีจีได้ให้ความสำคัญและเริ่มต้นจากภายในองค์กร ด้วยโครงการบางซื่อโมเดล

ศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์

บางซื่อโมเดล สู่ ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ

บางซื่อโมเดล เป็นการรณรงค์ให้พนักงานเอสซีจี สำนักงานใหญ่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะ ด้วยการส่งเสริมพฤติกรรม ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก และเอสซีจียังพัฒนาระบบคัดแยกขยะภายในองค์กร และระบบรับซื้อคืนเพื่อรีไซเคิล โดยมีหัวใจสำคัญ คือ การแยกขยะเปียกออกจากขยะแห้ง และแยกตามประเภทวัสดุ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขยะสามารถนำกลับมาสร้างประโยชน์ได้ง่ายขึ้น ทำให้สามารถลดปริมาณขยะที่ต้องทิ้งบ่อฝังกลบได้เฉลี่ย 20 ตันต่อเดือน เพิ่มปริมาณขยะรีไซเคิลจากร้อยละ 10 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 45 ต่อเดือน  และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าร้อยละ 50 ต่อเดือน

จากผลสำเร็จที่เกิดขึ้น เอสซีจีได้ขยายผลสู่ชุมชนรอบโรงงานของเอสซีจี เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบที่ชุมชนบ้านรางพลับ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จนสามารถลดปริมาณขยะสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์ และได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการชุมชนปลอดขยะ ปี 2562 จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด เอสซีจีได้ถอดบทเรียนจากบางซื่อโมเดลและชุมชนรางพลับ เกิดเป็นโครงการ ‘ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ’ ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นโมเดลการจัดการขยะที่เชื่อมโยงระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และธนาคารขยะชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะร่วมกันอย่างยั่งยืน และเปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า ด้วยหลักคิด “ขยะไม่ใช่ขยะ” แต่สามารถสร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม หรือหมุนเวียนกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ได้ หากจัดการอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้นทาง

ใช้แอปพลิเคชัน คุ้มค่า ในการซื้อขายขยะ
ใช้แอปพลิเคชัน คุ้มค่า ในการซื้อขายขยะ

อ่านเรื่องราวทั้งหมด ได้ที่ THE MOMENTUM

(Visited 1,129 times, 2 visits today)