11 สิงหาคม พ.ศ. 2565 – กรุงเทพฯ: บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด หรือ CPAC ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการปลูกฟื้นฟูป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่ Net Zero โดยใช้ Positive Impact เป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีทางธรรมชาติ Natural Climate Solution (NCS) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้เป็น Model ต้นแบบการฟื้นฟูป่าที่เน้นการมีส่วนร่วม เน้น Go Green ทำให้เกิดความชุ่มชื้นในป่า เกิดน้ำ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ Lean เหลื่อมล้ำ ชุมชนมีรายได้จากกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การเพาะกล้าไม้ การดูแลป่า ย้ำร่วมมือ โดยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยานฯ ชุมชน คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชมรมนักเรียนผู้รับทุนอานันทมหิดล องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเครือข่าย Eco partner โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ผืนป่า เช่น CPAC Drone Solution, Water Solution ฯลฯ เชื่อมั่นว่าความร่วมมือนี้จะมีส่วนช่วยให้ CPAC และภาครัฐสามารถบรรลุเป้าหมาย Carbon Sink ได้ในอนาคต
นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมที่จะส่งเสริมให้เกิดการปลูกป่า ฟื้นฟูป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ขานรับนโยบายจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการขับเคลื่อนมาตรการการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ที่ 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เพื่อบรรลุเป้าหมายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้บรรลุนโยบายอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าตามแผนยุทธศาสตร์ด้านป่าไม้ของประเทศ และนำไปสู่การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน”
นายชนะ ภูมี Vice President – Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “CPAC ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยยึดหลัก ESG ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลสังคม และมีบรรษัทภิบาล ผ่านแนวทาง ESG 4 Plus สอดคล้องต่อการแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่ง Net Zero ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ไปสู่เป้าหมาย Thailand Chapter ตามแนวทางของ Thailand Net Zero Cement & Concrete Roadmap 2050 โดยใช้ Positive Impact เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีทางธรรมชาติ (Natural climate solution) และ CPAC พร้อมสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในการปลูกฟื้นฟูป่า และเพื่อสร้างให้เป็น Model ต้นแบบของการปลูกฟื้นฟูป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม”
ซีแพค และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ป่าและจะเป็นโมเดลต้นแบบในการอนุรักษ์ผืนป่าที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคชุมชน ภาคราชการ ภาคเอกชน และ Ecosystem อันจะช่วยต่อยอดแนวทางการปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำแนวทางไปขยายผลในพื้นที่อื่นได้ในอนาคต
Published on: Aug 25, 2022