เอสซีจีพร้อมพันธมิตรโชว์ความก้าวหน้า 1 ปี “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เชื่อมความร่วมมือต่างประเทศ สู่เป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย

เอสซีจี ร่วมกับจังหวัดสระบุรี สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี และ พันธมิตร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม โชว์ความก้าวหน้า 1 ปี “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำ แห่งแรกของประเทศไทย” ณ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ทั้งด้านการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว การสร้างมูลค่าเพิ่มจากคาร์บอน ด้วยแรงหนุนจากภาคีพันธมิตร เชื่อมโยงความร่วมมือต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี และแหล่งทุนสีเขียว สู่เป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำ

ดร.ชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี และ นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) กล่าวว่า “เอสซีจีมีแนวทาง Inclusive green growth ที่มุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน จึงผนึกกำลังกับผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายอื่น ๆ ในสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ร่วมขับเคลื่อนสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ สู่เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย โดยมีแผนงานครอบคลุมด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด นำความร้อนเหลือออกจากปล่อง กลับมาใช้ประโยชน์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ การใช้เชื้อเพลิงชีวมวล และเชื้อเพลิงแข็งทดแทนจากขยะชุมชน (RDF) ทดแทนถ่านหิน สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการเกิดฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุภาคการเกษตร ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร รวมทั้งทำให้การจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมของจังหวัดสระบุรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ด้านกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Process and Product Use: IPPU) เอสซีจีได้วิจัยและพัฒนาการใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดเพื่อผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ โดยปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ 1 ตัน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกระบวนการผลิตถึง 50 กิโลกรัมต่อตันซีเมนต์ คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และการใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อให้ ปูนซีเมนต์มีคุณสมบัติดีขึ้น รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดมาตรฐานการใช้งานให้สอดคล้อง
  • การยกระดับทำเหมืองสู่ Green and Smart Mining เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าสูงสุด ควบคู่กับการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่ ดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน  4) การศึกษาเทคโนโลยีดักจับและใช้ประโยชน์คาร์บอน เพื่อขับเคลื่อนการมุ่งสู่เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050  นอกจากนี้ สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ยังเป็นคลัสเตอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมแรกของไทย ที่ได้รับตอบรับเข้าร่วมโครงการ Transitioning Industrial Clusters ขององค์กรระดับโลก World Economic Forum อีกด้วย”

ดร. ชนะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ มีความคืบหน้าอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การมุ่งสู่การเป็นต้นแบบ เมืองคาร์บอนต่ำให้สำเร็จนั้น ต้องใช้นวัตกรรมและรูปแบบการทำงานร่วมกัน แบบบูรณาการจากหลายภาคส่วน รวมทั้งการสนับสนุนจากต่างประเทศ อาทิ สมาคมซีเมนต์คอนกรีตโลก (Global Cement and Concrete Association – GCCA), องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization-UNIDO), องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) มาร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะ เงินทุนสีเขียว (Green Funding) และ เทคโนโลยีสมัยใหม่ชั้นสูง เช่น เทคโนโลยีดักจับ ใช้ประโยชน์ และ กักเก็บ (Carbon Capture Utilization and Storage)   เพื่อช่วยให้อุตสาหกกรมของประเทศเปลี่ยนผ่าน สู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดร.ชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี

นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เปิดเผย ว่า “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เป็นความร่วมมือขับเคลื่อนการทำงาน จากหลายภาคส่วน มีหลักสำคัญในการทำงานร่วมกัน 4 ข้อ ได้แก่ 1. ทำทันที 2. ไม่มีอะไรถูก ไม่มีอะไรผิด สามารถปรับการทำงานได้ตลอดเวลา 3. เห็นต่างได้ แต่ห้ามขัดแย้ง หาข้อสรุปและแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน 4. ยิ้ม เพื่อเกิดความสนุกในการทำงานร่วมกัน โดยจังหวัดสระบุรีพร้อมเป็นจังหวัดนำร่องในการทดลองใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือเป็นพื้นที่ในการศึกษาวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการทดลองมาปรับใช้ในพื้นที่ และขยายผลไปยังพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ เพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้ รวมถึงประชาชนและชุมชนในพื้นที่จังหวัดสระบุรี จะต้องได้รับประโยชน์ มีกิน มีใช้ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น การดำเนินงานในระยะต่อไปจะสำเร็จลุล่วงได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายจากภาครัฐ ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากทุกภาคส่วนมีเป้าหมาย และหลักในการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน และสามารถเป็นต้นแบบ ให้จังหวัดและหน่วยงานอื่น ๆ นำไปเป็นแนวทางในการทำงานในพื้นที่ได้ในอนาคต รวมทั้งสามารถตอบสนองแผนงานลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศได้ตามเป้าหมาย”

นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี

นายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี เปิดเผยว่า “งานวันนี้ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมาย ทั้งในเรื่องของจำนวน พลัง และแรงบันดาลใจของผู้มีส่วนร่วม ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ได้ร่วมกับจังหวัดสระบุรีวางแนวทาง ไว้สำหรับภาคส่วนอื่น ๆ ในสระบุรีที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มเติม หรือการนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ  ซึ่งสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรีจะเป็นตัวเชื่อมในการผลักดันเรื่องการมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำให้ยั่งยืนต่อไป”

นายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี

“สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” การทำงานเชิงพื้นที่ โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (Public-Private-People Partnership: PPP) นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี มี 3 ภาคีหลัก-จังหวัดสระบุรี สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาจังหวัดสระบุรีสู่เมืองคาร์บอนตํ่า “SARABURI SANDBOX LOW CARBON CITY” เชื่อมโยงความร่วมมือองค์กร หลายภาคส่วน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กว่าหนึ่งปีของการขับเคลื่อนนับจาก การประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นำมาซึ่งความก้าวหน้าตามลำดับ และยังคงมีเป้าหมายที่ต้องเดินหน้ากันต่อใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด 2. การผลักดันอุตสาหกรรมสีเขียว 3. การสร้างมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ 4. การส่งเสริมด้านเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ และ 5. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยความร่วมมือสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และแสวงหาแหล่งทุนสีเขียว เพื่อจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าภายในปี พ.ศ. 2570

เอสซีจี ร่วมกับจังหวัดสระบุรี สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบรี และ พันธมิตร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม

Published on: Feb 3, 2025

(Visited 32 times, 32 visits today)
ดาวน์โหลดข่าว