เอสซีจี จับมือเครือข่าย ชู “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล หลังพิสูจน์แล้ว ชุมชนมีน้ำกิน-ใช้ รายได้เพิ่ม อาชีพมั่นคง

เกษตรกรไทยมีความหวัง หลังเผชิญกับวิกฤติภัยแล้งสาหัส ไม่มีน้ำกิน–ใช้ ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ขาดรายได้ เอสซีจี ร่วมมือมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ สสน. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หอการค้าแห่งประเทศไทย ชวนเครือข่ายขยายผล “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล ชู…

ดาวน์โหลดข่าว

กระทรวง อว. ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ เอสซีจี มูลนิธิบัวหลวงและธนาคารกรุงเทพ แถลงความสำเร็จ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง”

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)  เอสซีจี มูลนิธิบัวหลวง และธนาคารกรุงเทพ จำกัด…

นักสู้ “แม่แจ่ม” ใช้แนวคิด “จัดการน้ำชุมชนแบบมีส่วนร่วม” เปลี่ยนเขาหัวโล้นเป็นป่าธรรมชาติ เอาชนะภัยแล้ง

แม้ว่าพี่น้องชาวเขามีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับป่า มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ให้ความเคารพผืนป่า เช่น การบวชป่า แต่ด้วยวิถีเกษตรที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ผนวกกับเกษตรเชิงเดี่ยวในยุคสมัยนี้ กลายเป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เสื่อมโทรมกลายเป็น “เขาหัวโล้น” คุณอุทัย พายัพธนกร หรือ พ่อหลวงอุทัย…

“ลุงคำมี” ต้นแบบเกษตรกรพอเพียงที่เปี่ยมสุข สู้ภัยแล้งสำเร็จ ‘ผันตัวจากคนใช้น้ำ-เป็นคนหาน้ำ’

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจยืดเยื้อกว่าที่คิดไว้ เพราะต้องใช้เวลาพัฒนายาและวัคซีนในการรักษาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ทางเลือกที่ดีที่สุดขณะนี้ จึงเป็นเพียงการยับยั้งการแพร่เชื้อให้ลดลง และประคองสถานการณ์เพื่อไม่ให้กระทบกับเศรษฐกิจมากนัก ภาครัฐจึงมีการแบ่งโซนจังหวัดออกเป็น 3 โซน ได้แก่ เขียว เหลือง และแดง…

“ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น” ลุกขึ้นจัดการตน-รอดพ้นแล้ง สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู้วิกฤตโควิดระบาด

ขณะที่คนทั่วโลกรวมถึงคนเมืองในประเทศไทยกำลังหวาดวิตก กักตุนอาหาร และเก็บตัวเองอยู่ในบ้าน เพื่อปกป้องตัวเองให้ห่างจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แต่ภัยร้ายจากโรคระบาดที่ว่ารุนแรงแล้ว ก็ยังไม่อาจสู้ปัญหาเรื่องปากท้องได้ นี่จึงเป็นสาเหตุของการอพยพอีกระลอกของแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนาเพื่อหนีความอดอยาก ผลการสำรวจความคิดเห็นเกษตรกรของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เกี่ยวกับผลกระทบภัยแล้งกับโควิด-19 พบว่า เกษตรกรร้อยละ 90.4 เกรงกลัวภัยแล้งมากกว่าโควิด–19…

“บ้านม่วงชุม” จ.เชียงราย ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยรอดพ้นวิกฤตอาหารในสถานการณ์โควิด-19

ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับพิษจากโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) จนบอบช้ำ ไม่เพียงแต่ยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาต่างเจอศึกหนักด้วยก็คือ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะความต้องการปัจจัยพื้นฐานอย่างอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องมือเวชภัณฑ์พุ่งสูงขึ้น จนเป็นเหตุให้สินค้าขาดตลาดและมีราคาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว กลับเข้าสู่ยุค “เงินทองคือมายา ข้าวปลา คือของจริง”…