CEO เอสซีจี เผยตัวอย่าง “ธุรกิจ” ได้ปรับเพื่อรับโจทย์ใหม่ & ใช้แล้ว SHAPING

30 เมษายน 2563…แพคเกจจิ้ง ปรับซัพพลายเชน รับดีมานด์ที่สูงขึ้นจาก Social Distancing ส่วนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง โดย SCG HOME เดินหน้าสั่งของทางออนไลน์เพิ่มขึ้นตามแผนธุรกิจที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง และมีธุรกิจขนส่งสินค้าที่แข็งแกร่ง

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของ Covid-19 นั้น ใน BU ทั้งสามของเอสซีจี ก็ได้รับผลกระทบแตกต่างกันไป

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง โดยส่วนรวมยังไปได้ เพราะบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน ยังไปได้อยู่ ส่วนที่น่าจะมีผลกระทบถัดไปคือ สินค้าเครื่องใช้ที่ซื้อมาแล้วอาจจะไม่ได้ใช้เลย หรือว่านาน ๆ ทีใช้ครั้งหนึ่ง ซึ่งคิดว่าต่อไปจะมีประเด็นตรงนี้ได้ รวมถึงเรื่องของแฟชั่นต่างๆ

ธุรกิจเคมิคอลส์  แบบของใช้ประจำวัน หรืออาหาร ยังไปได้สำหรับเคมิคอลส์ที่ขายไปในเซคเตอร์นี้ แต่บางเซตเตอร์ขายไป เช่นในยานยนต์จะกระทบค่อนข้างมากในระยะถัดไป

รุ่งโรจน์ กล่าวต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่งที่อาจจะไม่ใช่ผลกระทบโดยตรงคือ ราคาน้ำมันที่มีความผันผวนมาก เพราะความต้องการน้ำมันลดลง เพราะเรื่องการท่องเที่ยวการเดินทางหายไป ราคาน้ำก็ลดลงไปจึงมีความผันผวน ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งความผันผวนของราคาน้ำมันมีผลต่อธุรกิจเคมิคอลล์ทีเดียว

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ผลกระทบยังไม่เห็นชัดในไตรมาสแรกที่ผ่านมา แต่ที่ภาพบางส่วน คือภาคเอกชนที่เป็นลูกค้าเอสซีจีนั้น จะเห็นถึงความท้าทายมาก เพราะอสังหาริมทรัพย์การก่อสร้างต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นระยะยาว เพราะฉะนั้นกำลังซื้อในระยะถัดไปหลังจากมีการส่งมอบอะไรต่าง ๆ ไปแล้ว คงมีผลกระทบค่อนข้างมาก เอสซีจีคาดหวังว่า โครงการของภาครัฐ จะคงนโยบายตรงนี้ไว้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยผยุงความต้องการสินค้าซีเมนต์ วัสดุ ก่อสร้าง อยู่ได้ อย่างน้อยในช่วงที่ก่อนสถานการณ์ Covid-19 จะคลี่คลายออกไป

พร้อม ๆ กับผลกระทบทางธุรกิจจาก Covid-19 ในด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนก็เปลี่ยนแปลงไปหลายเรื่องอย่างเห็นได้ชัด และได้กลายเป็น “ความปกติใหม่” ของวิถีการใช้ชีวิตขณะนี้ ซึ่งกลายเป็นโจทย์ให้ธุรกิจที่จะต้อง Shaping ตัวเองในสถานการณ์ Covid-19

รุ่งโรจน์ยกตัวอย่าง 2 BU ของเอสซีจีที่ตอบโจทย์ “ความปกติใหม่” และสามารถทำให้มีการบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (Business Continuity Management)

“แพคเกจจิ้ง สิ่งที่เราเห็นเลยคือ Food Packaging เพราะเราไปทานข้าวนอกบ้านไม่ได้ ดังนั้นเรื่อง Food Packaging ไปได้ค่อนข้างดี ไปในแง่ของวัสุที่ใช้ในการผลิต ได้ทั้งพวกไฟเบอร์ และโพลิเมอร์ เบส ที่เราปรับคือการตอบโจทย์ตรงนี้ให้ดี เพราะว่าสิ่งหนึ่งที่เห็นคือดีมานด์กลุ่มนี้โตอย่างรวดเร็วมาก สิ่งที่จะต้องทำคือ ทำอย่างไรจะตอบรับดีมานด์ที่โตขึ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ตรงนี้ได้ และลูกค้าสั่งของมาแล้วสามารถส่งมอบของได้ตามเวลาที่เขาต้องการ”

อ่านบทความเต็ม ได้ที่ SD PERSPECTIVE

(Visited 421 times, 1 visits today)