เอสซีจี ตั้งเป้าสู่ Net Zero Cement & Concrete 2050 พัฒนานวัตกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สอดคล้องกับแนวทาง ESG

เอสซีจี โดย Cement and Green Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทยอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่ Net Zero Cement & Concrete 2050 ผ่านการพัฒนานวัตกรรมทั้งผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิดเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำหรือ Low Carbon Economy เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 รวมถึงผลักดันการหมุนเวียนทรัพยากรและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ให้นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนประสานงาน ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อก้าวสู่ Green Construction สอดคล้องกับแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance) และ ESG 4 Plus ของเอสซีจี ได้แก่ มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ภายใต้ความเป็นธรรม โปร่งใส

นายชนะ ภูมี Vice President – Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น เอสซีจีได้เล็งเห็นความสำคัญและได้กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยในส่วนของ Cement and Green Solution Business ได้ปรับทิศทางของธุรกิจตาม 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) Cement and Concrete ที่มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระบวนการผลิตและผลิตสินค้า ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) Green Solutions ที่เน้นการนำเทคโนโลยี และดิจิทัลต่างๆ เข้ามาใช้ในการบริหารโครงการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการก่อสร้าง และ 3) Green Circularity ที่มุ่งเน้น ให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้วยแนวทางการ Turn Waste to Value” โดย Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ได้กำหนดแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนี้

การพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Low Carbon Product) อาทิ ปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮบริด นวัตกรรมปูนซีเมนต์รักษ์โลก ด้วยมาตรฐานปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก รายแรกของไทย ที่มีการนำเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) และลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตมาใช้เป็นเชื้อเพลิงและพลังงานทดแทน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตได้ถึง 0.05 ตัน CO2 ต่อปูน 1 ตัน และในส่วนของ CPAC Low Carbon Concrete ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการผลิตได้ถึง 17 กิโลกรัม CO2 ต่อคอนกรีต 1 คิว นอกจากนั้น ในด้านการพัฒนานวัตกรรมสินค้า ยังมีการนำวัตถุดิบคุณภาพสูง (Advance Materials) เช่น CPAC Ultracrete (คอนกรีตสมรรถนะสูง) และ Mortar for 3D Printing เข้ามาใช้ในโครงการก่อสร้างเพื่อช่วยให้ประหยัดการใช้ทรัพยากรได้

ปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮบริด

การพัฒนาโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Solution) และการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการก่อสร้าง อาทิ CPAC Drone Solution” โซลูชันที่ตอบโจทย์การสำรวจหน้างาน ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และออกแบบผังโครงการ เพื่อลดเวลาสำรวจ และลดความผิดพลาดในการก่อสร้าง CPAC BIM” หรือ Building Information Modeling เทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยสร้างความแม่นยำในการออกแบบ ส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบ Collaborative Platform ให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าของงาน สถาปนิก ผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมถึงชุมชนและสิ่งแวดล้อม ให้เห็นภาพเดียวกัน และCPAC 3D Printing Solution” เทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูปแบบ 3 มิติ ที่สร้างสรรค์การออกแบบได้หลากหลาย รวดเร็ว ประหยัดแรงงาน ลดเวลา ควบคุมต้นทุนและช่วยลดเศษวัสดุในไซต์งานก่อสร้าง

CPAC 3D Printing Solution” เทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูปแบบ 3 มิติ สวยงาม ประหยัดเวลา ลดเศษวัสดุงานก่อสร้าง

การปรับกระบวนการผลิต ให้สามารถใช้พลังงานทางเลือก (Renewable Energy) และเชื้อเพลิงทดแทน (Alternative Fuel) อาทิ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทั้ง Solar Farming และ Solar Floating รวมทั้ง การปรับใช้รถบรรทุกหินปูนขนาด 60 ตัน ชนิดไฟฟ้า (Electric Vehicle Mining Truck) ในเหมืองปูนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ที่โรงงานปูนซิเมนต์ไทย ทุ่งสง ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษ ปลอดฝุ่น PM 2.5 สอดคล้องกับแนวทางอุตสาหกรรมเหมืองแร่สีเขียว นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการทำเหมืองแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Mining) โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ Drone และ Technology Mine-Site เข้ามาใช้ในการวางแผนการผลิต

การดำเนินโครงการเพื่อลดโลกร้อนด้วยวิธีการทางธรรมชาติ (Natural Climate Solution) อาทิ การปลูกต้นไม้ เพื่อทำการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ด้วยแนวทางการจัดทำแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Sink) ปัจจุบันมีโครงการ “พนารักษ์” ที่ร่วมกับกรมอุทยาน ในการปลูกป่าที่จังหวัดลำพูน จำนวน 534 ไร่ รวมทั้งศึกษาเทคโนโลยีการลดคาร์บอนจากกระบวนการผลิต (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) โดยกำลังศึกษาเทคโนโลยีเหมาะสมที่สุด เพื่อดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์

ฟื้นฟูพื้นที่ป่า เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก

การหมุนเวียนทรัพยากรและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Turn Waste to Value) อาทิ โครงการรับซื้อเศษวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรในเขตภาคเหนือ เพื่อลดการเผา ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 โดยจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าทางภาคเหนือของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ รวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนที่โรงงานปูนซิเมนต์ไทย ลำปาง ซึ่งช่วยส่งเสริม ให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้คนในชุมชนกว่า 300 คน มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชน เอสซีจี ยังให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเหมืองให้กลายเป็นแหล่งน้ำเพื่อชุมชน ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการทำเหมืองอีกด้วย

เพื่อให้การขับเคลื่อนบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว เอสซีจี สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับอาเซียนและระดับโลก อาทิ ร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (TCA)  ในการพัฒนา Low Carbon Roadmap รวมทั้งร่วมกับ Global Cement and Concrete Association (GCCA) ในการนำองค์ความรู้และแนวทางที่เป็น Global Practice มาปรับใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้างเกิดขึ้นได้จริงและรวดเร็ว คือการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐที่จะช่วยผลักดันและความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การเติบโตที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคตร่วมกัน

Zero Burn อัดฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล

เอสซีจี ยังคงมุ่งมั่นดำเนินการเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจ เพื่อยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างของประเทศ ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ ตามแนวทาง ESG และบรรลุ “Net Zero Cement & Concrete 2050” ได้ตามเป้าหมาย

Published on: Mar 29, 2022

(Visited 1,276 times, 1 visits today)
ดาวน์โหลดข่าว