เอสซีจี ร่วมแบ่งปันความรู้ด้านการดูแลและจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพ

เอสซีจี โดย ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ได้รับเกียรติเข้าร่วมงาน International Biodiversity Day 2019 หรือ IBD 2019 เพื่อแสดงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจที่มาพร้อมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพภายในงาน โดยมีนักวิชาการจากทั่วโลก นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ข้าราชการ นิสิต-นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

จากที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2543 (ค.ศ. 2000) ให้วันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (International Day for Biological Diversity: IBD) เพื่อรำลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CDB) เริ่มมีผลบังคับใช้คือ วันที่ 22 พฤษภาคม 2535 (ค.ศ. 1992) โดยมีวัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญา คือเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรมนั้น

งาน IBD 2019 ในปีนี้จึงจัดขึ้นภายใต้แนวคิด Our Biodiversity, Our Food, Our Health” เพื่อสื่อสารความสำคัญของการพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกันจัดงาน นำโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน) หรือ BEDO

เอสซีจี ซึ่งมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการเรื่องการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งร่วมเสวนาวิชาการ “Biodiversity for Sustainable Bio-economy” โดยมี คุณมงคล พรชื่นชูวงศ์ Mineral Resources and Mining Services Director ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมบรรยายหัวข้อ “Private Sector’s Perspective on Biodiversity Management” เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางในการดูแลและจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั่วประเทศ ให้เป็นไปตามหลักวนศาสตร์ ด้วยการทำเหมืองแบบ Semi-Open Cut หรือการเว้นพื้นที่ด้านนอกไว้เป็นพื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone) และจะใช้พื้นที่นี้ในการศึกษาพืชพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต และทำการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีการทำเหมืองให้ใกล้เคียงกับพื้นที่แนวกันชนมากที่สุด พร้อมทั้งจัดทำคู่มือองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันดูแลรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

นอกจากนี้ เอสซีจียังร่วมกับชุมชนรอบเหมืองสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การเพาะพันธุ์ต้นกล้า การให้ความรู้เรื่องระบบนิเวศกับชุมชนโดยรอบ และการจัดทำ โครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” เพื่อบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยร่วมมือกับชุมชนในการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่กันไปอีกด้วย

(Visited 303 times, 1 visits today)